Page 34 - 1.ประวัติศาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 34

25





                  ที่มีความกล้าหาญในการรบจนดาบหัก เมื่อครั้งป้องกันเมืองพิชัย ในปี พ.ศ. 2316 สมเด็จ

                  เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จ
                  พระบวรเจ้ามหาสุรสิงหนาท นับเป็นสมัยแห่งการท าสงครามอย่างแท้จริง


                                                                     2. สร้างพระราชวังกรุงธนบุรี ให้เป็น
                                                           พระราชวังหลวง เป็นสถานที่ประทับและว่าราชการ

                                                           ปรับปรุงป้อมวิไชยเยนทร์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น

                                                           ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ต าแหน่งที่ตั้งของพระราชวัง

                                                           เป็นจุดส าคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์

                                                           ได้ในระยะไกล และใกล้เส้นทางคมนาคมการเดินทัพ
                              พระราชวังเดิม สมัยธนบุรี

                      (ที่มาภาพ : หนังสือ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย”    ที่ส าคัญซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือ
                          กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)
                                3. ด้านการปกครอง หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจาย


                  สูญหายไปมาก จึงสืบเสาะ ค้นหา รวบรวม ช าระกฎหมายให้เหมาะสมแก่กาลสมัย ฉบับใด

                  ไม่เหมาะสมก็โปรดให้แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก เพื่อให้ราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น

                  ออกพระราชก าหนดสักเลก พ.ศ. 2316 เพื่อสะดวกในการควบคุมก าลังคน

                                4. ด้านเศรษฐกิจ จากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ส่งผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ

                  อย่างร้ายแรง พระองค์จึงงดเก็บส่วยอากร 3 ปี เมื่อเข้ารัชกาลใหม่ ทรงท านุบ ารุงการค้าขาย

                  ทางเรืออย่างเต็มที่ ส่งเสริมการน าสินค้าพื้นเมืองไปขายที่ประเทศจีน และทรงพยายามผูกไมตรี

                  กับประเทศจีน เพื่อประโยชน์ในด้านความมั่นคงของชาติ และประโยชน์ในด้านการค้า

                                5. ด้านศาสนา ให้ตรากฎหมายว่าด้วยวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในปี พ.ศ. 2316

                  ถือเป็นกฎหมายพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย และบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ เช่น
                  วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร โปรดเกล้าให้เขียนภาพ


                  “สมุดภาพไตรภูมิ” เป็นสมุดภาพขนาดใหญ่ของไทย เขียนด้วยสีลงในสมุดทั้ง 2 ด้าน โดยฝีมือ
                  ช่างเขียน 4 คน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39