Page 37 - 1.ประวัติศาสตร์ชาติไทย ประถม สค.12024
P. 37
28
ธนาคารขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อว่าสยามกัมมาจล ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์ จ ากัด มีการตั้ง
โรงกษาปณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อท าหน้าที่ผลิตธนบัตร ท าให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวทางการค้า
ต่อมาสงครามโลกระหว่างปี พ.ศ. 2472 – 2475 ท าให้เศรษฐกิจตกต่ าทั่วโลก ราคาข้าว
ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกตกต่ า สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคขาดแคลน มีราคาแพง การเงินแผ่นดิน
เริ่มขาดดุล จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
ได้พระราชทานแนวพระราชด าริเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ ให้เป็นแนวทางการด าเนินชีวิต
และปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็น
หลัก ทรงเตือนสติ และชี้แนะแนวทางการด ารงชีวิตในช่วงที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ
ซึ่งส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้อัญเชิญแนวพระราชด าริ
เศรษฐกิจพอเพียง บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 –
2549) และฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) แนวพระราชด าริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงยังคงเป็น
แนวทางปฏิบัติจนกระทั่งปัจจุบัน
ถนนเจริญกรุง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2404 – 2405 ถนนบ ารุงเมือง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2406
(ที่มาภาพ : หนังสือ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย” กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)
3. ด้านการศึกษา ระบบการศึกษาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะคล้ายสมัย
กรุงศรีอยุธยา คือ มีวัดและวังเป็นสถาบันทางการศึกษา ถ้าจะเข้าศึกษาที่วัดต้องบวชเรียน
โดยมีพระสงฆ์และราชบัณฑิตสอนวิชาสามัญ มีการเรียนช่างต่าง ๆ ในครัวเรือนและวงศ์ตระกูล
เช่น ช่างทอง ช่างหล่อ ส าหรับหญิงจะศึกษาในครัวเรือน ส่วนในวัง เรียนวิชาเย็บปักถักร้อย
การบ้านการเรือน แต่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนมากนัก