Page 139 - Channels and Distribution Management
P. 139

5. ความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงผู้ค้าปลีก (Retailer Credibility)
ผู้ค้าปลีกที่มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือในตลาดจะช่วยสร้างความไว้วางใจจากลูกค้า และส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ในสายตาของผู้บริโภค
6. ต้นทุนในการใช้คนกลาง (Intermediary Cost)
ผู้ผลิตต้องพิจารณาต้นทุนที่เกี่ยวข้องในการใช้บริการของคนกลาง เช่นค่าคอมมิชชั่น ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อให้การกระจายสินค้าเกิดความคุ้มค่าและไม่กระทบต่อผลกําไร
7. การตอบสนองตอ่ ความต้องการของตลาด (Market Responsiveness)
ผู้ค้าปลีกที่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการของตลาดหรือพฤติกรรม ของผู้บริโภคจะช่วยให้สินค้าของผู้ผลิตสามารถตอบสนองตลาดได้อย่างทันท่วงที
6.3.2 ข้อดี ข้อเสียของการเลือกคนกลางระดับค้าปลีก (Advantages and Disadvantages of RetailMiddlemanSelecting)
ในการจัดการช่องทางการจัดจําหน่าย ผู้ผลิตมักเลือกใช้คนกลางทางการตลาดเช่นผู้ค้า ปลีก เพื่อช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคปลายทาง การเลือกใช้คนกลางในระดับค้าปลีก นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ผู้ผลิตต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ข้อดีของการใช้คนกลางทางการตลาด ระดับค้าปลีกคือความสามารถในการขยายตลาด การลดต้นทุนในการจัดจําหน่าย และการเพิ่มความ สะดวกในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ในขณะที่ข้อเสียอาจเกิดจากการสูญเสียการควบคุมใน กระบวนการจัดจําหน่าย รวมถึงต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้นจากค่าคอมมิชชั่นและค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อผลกําไรและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ผู้ผลิตจึงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้แน่ใจว่าการใช้คนกลางทางการตลาดจะช่วยเสริมสร้างความสําเร็จให้กับธุรกิจได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ข้อดีของการใช้คนกลางการตลาดระดับการค้าปลีก
1) ระบายสนิ คา้ คงคลัง (Inventory Liquidity) ข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดของการใช้ คนกลางประเภทค้าปลีกคือเป็นธุรกิจที่ทําเงินสด ซึ่งหมายความว่าผู้ค้าปลีกจะขายสินค้าด้วยเงินสด ให้กับลูกค้าเสมอ ส่งผลให้ผู้ค้าปลีกมีสภาพคล่องในการจัดจําหน่าย โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนจํานวน มากในการซื้อสินค้าจากผู้ผลิต ทําให้ผู้ผลิตสามารถกระจายสินค้าจากคลังสินค้าไปสู่ผู้ค้าปลีกได้เพื่อ ลดภาระความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า
2)สร้างความมั่นใจต่อการจัดจําหน่าย (DistributionAssurance)ข้อดีอีกประการ หนึ่งของการใช้คนกลางประเภทค้าปลีกคือ ผู้ค้าปลีกไม่ต้องรับผิดชอบต่อลูกค้า หากผลิตภัณฑ์มี ข้อบกพร่อง ผู้ผลิตจะต้องรับผิดชอบในการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ค้าปลีก กล่าวคือผู้ค้าปลีกได้รับ การคุ้มครองตราบเท่าที่ความรับผิดของลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยังอยู่ที่ผู้ผลิต ผู้ค้าปลีกช่วย สร้างความมั่นใจในการขายสินค้าที่ผู้ผลิตนําเสนอ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ใหม่
3) รักษาส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share Retention) การใช้คนกลาง ประเภทค้าปลีกสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ด้วยเงินทุนเริ่มต้นน้อย เนื่องจากไม่ใช่ธุรกิจที่ต้องใช้เงินทุน
   Channels and Distribution Management 129
  





















































































   137   138   139   140   141