Page 143 - Channels and Distribution Management
P. 143
ผู้ผลิต ตัวอย่างเช่น โฮมโปร (Home Pro) ไทวัสดุ (Thai Watsadu) บุญถาวร (Boonthavorn) โกลบอลเฮาส์ (Global House) ดูโฮม (Do Home)
7) ร้านค้าสะดวกซื้อ (Convenience Store) เป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็กที่จําหน่าย สินค้าที่จําเป็นในชีวิตประจําวัน เช่น ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม ยาสูบ อุปกรณ์อาบน้ํา หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด ร้านสะดวกซื้ออาจเป็นส่วนหนึ่งของสถานีบริการน้ํามันหรือ ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนในเขตเมือง เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น เซเว่นอีเลฟเว่น (7-Eleven) จิฟฟี่ (Jiffy) แฟมมิลี่มาร์ท (Family Mart)
8) ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) เป็นร้านค้าปลีกที่มีเป้าหมายด้าน การตลาดที่แคบ จําหน่ายสินค้าที่เฉพาะเจาะจง เช่น ของเล่น รองเท้า เสื้อผ้า เวชภัณฑ์ เครื่องสําอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเส้นผม ตั้งอยู่ในห้างค้าปลีกหรือตามแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ร้านขายสินค้า เฉพาะอย่างมีความเชี่ยวชาญมากกว่าร้านค้าทั่วไป และมักให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เฉพาะสําหรับ ผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น บู๊ทส์ (Boots) วัตสัน (Watsons) ซุปเปอร์สปอร์ต (Super Sports) บีทูเอส (B2S) แว่นท็อปเจริญ (TOP CHAROEN) บิ๊กคาเมร่า (Big Camera)
2. ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional Trade)
ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมมักมีขนาดเล็กและเป็นธุรกิจของครอบครัว โดยยังถือว่าเป็น ลักษณะธุรกิจการค้าปลีกแม้จะไม่มีการรวบรวมหรือจัดการที่ทันสมัย รูปแบบร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม มักจะเป็นกิจการส่วนตัว ไม่ได้จดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัท ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
1) ร้านขายของชําหรือโชห่วย (Grocery Store) เป็นร้านค้าขนาดเล็กที่ดําเนินการ โดยบุคคลในพื้นที่เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจําวันของผู้บริโภคในบริเวณ ใกล้เคียง จําหน่ายสินค้าประเภทอาหารที่ไม่เน่าเสียง่าย บางแห่งอาจมีเนื้อสัตว์ อาหารสําเร็จรูป และ ผักผลไม้สด ไม่มีการจัดการจัดการหรือตกแต่งร้าน ไม่มีส่วนลด มักขายสินค้าเต็มราคา เนื่องจากไม่ได้ รับส่วนลดในการสั่งซื้อเพราะซื้อในปริมาณที่น้อย ส่งผลทําให้กําไรต่ํา ผู้บริโภคมักเป็นกลุ่มที่มี ความคุ้นเคยในแหล่งชุมชน
2) ร้านค้าปลีกอิสระ (Independent Store) เป็นร้านค้าขนาดเล็กที่ตั้งอย่างน้อย 1-3 แห่ง โดยแต่ละรายจะดําเนินการโดยเป็นหุ้นส่วนหรือกลุ่มเครือญาติ ไม่มีการตกแต่งร้าน จําหน่าย สินค้าอยู่ในอาคาร กระจายอยู่ในทุกมุมเมืองและมักเป็นของคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้น สินค้าที่ จําหน่ายมักเป็นสินค้าที่เจ้าของมีความถนัดในประเภทของสินค้า เช่น ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ผลไม้ เบเกอรี่ ขนมหวาน
3. การค้าปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-tailing)
การค้าปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการขายสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (อินเทอร์เน็ต) ด้วยการใช้พื้นที่บนเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเหมือนร้านค้า โดยแสดงผลิตภัณฑ์ผ่านภาพพร้อมให้ข้อมูล คุณสมบัติและป้ายราคา การค้าปลีกผ่านอินเทอร์เน็ต (E-tailing) เป็นส่วนย่อยของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งทํา ธุรกรรมกับผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เมื่อลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์ช้อปปิ้งของธุรกิจค้าปลีก สามารถเลือก
Channels and Distribution Management 133