Page 158 - Channels and Distribution Management
P. 158
148 การจััดการช่่องทางการจััดจัําหน่่ายและการกระจัายสิิน่ค้้า 148
ภาพที่ 7.2 แสดงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของช่องทางอีคอมเมิร์ซ ที่มา : ภิญโญ อุดมโภชน์, 2567.
7.2.2 ประเภทของช่องทางการจัดจาหน่ายอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มในประเทศไทย (Types of E-Commerce Channels in Thailand)
ธุรกิจที่ต้องการจําหน่ายสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มจําเป็นต้องตัดสินใจ เลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสนับสนุนการเติบโตระยะยาวของธุรกิจ ซึ่ง ปัจจุบันอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มเป็นแอปพลิเคชันที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ผ่านสมาร์ทโฟน ทําให้ ธุรกิจสามารถจัดการเว็บไซต์ การตลาด การขาย และการดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การเข้าใจประเภทของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่นิยมในประเทศไทยจะช่วยให้ธุรกิจวางกลยุทธ์ใน การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างความผูกพันกับแบรนด์ โดยประเภทของอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มที่ ได้รับความนิยมในประเทศไทย ประกอบไปด้วย
1. กลุ่มโซเชียลคอมเมิร์ซ (Social Commerce)
กลุ่มโซเชียลคอมเมิร์ซเป็นการรวมโซเชียลมีเดียเข้ากับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ แพลตฟอร์มออนไลน์จําหน่ายสินค้าหรือบริการให้ผู้บริโภคโดยตรง มีข้อดีคือเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย และกว้างขวาง เนื่องจากอยู่ในแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้จํานวนมากและไม่มีค่าธรรมเนียม ตัวอย่างโซเชียล คอมเมิร์ซในไทย ได้แก่ Facebook Marketplace, Instagram Shop, TikTok Shop และ LINE Shopping
2. กลุ่มตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace)
กลุ่มตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นแพลตฟอร์มที่รวมเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้ขาย และผู้ซื้อสามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าออนไลน์ได้อย่างสะดวก มีสินค้าหลากหลายประเภทและ