Page 190 - Channels and Distribution Management
P. 190
180 การจััดการช่่องทางการจััดจัําหน่่ายและการกระจัายสิิน่ค้้า 180
ระหว่างสมาชิกในช่องทางจะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและส่งเสริมการทํางานร่วมกันอย่างราบรื่น ซึ่งจะนําไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจโดยรวม
8.3.1 การจัดการและแก้ไขความขัดแย้งภายในช่องทางการจัดจาหน่าย (Management and Resolving Conflicts in Channels)
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในช่องทางการจัดจําหน่ายเป็นปัญหาที่ธุรกิจหรือผู้ผลิตต้องให้ ความสําคัญ เพราะส่งผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และความสําเร็จของการจัดการช่องทาง การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เหมาะสมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางการจัดจําหน่ายและ ลดปัญหาความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การมุ่งเน้นตลาด (Market Orientation)
การมุ่งเน้นตลาดเป็นการที่ธุรกิจหรือผู้ผลิตวางแนวคิดเกี่ยวกับการดําเนินงานทาง การตลาดที่มุ่งเน้นต่อความต้องการของลูกค้าที่อยู่ปลายทาง ช่วยให้สมาชิกในช่องทางมีเป้าหมายที่ สอดคล้องกันลดความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างในการรับรู้เป้าหมาย โดยเฉพาะในด้านการทํา ความเข้าใจความต้องการของลูกค้าและการแข่งขันในตลาด
วิธีการดําเนินการ ธุรกิจควรจัดประชุมร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตลาดและ พฤติกรรมลูกค้า เช่น การวิเคราะห์คู่แข่ง การวิจัยตลาด และการแบ่งปันแนวทางการปฏิบัติที่ดีเพื่อให้ สมาชิกทุกฝ่ายมีความเข้าใจตรงกันและมีเป้าหมายเดียวกัน
การตรวจสอบ ธุรกิจควรตรวจสอบผลลัพธ์ของการมุ่งเน้นตลาด เช่น การเพิ่มยอดขาย การลดปัญหาความขัดแย้ง หรือการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า หากพบว่าผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่ คาดหวัง ควรปรับปรุงกลยุทธ์หรือวิธีการมุ่งเน้นตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
2. การตลาดเชิงสัมพันธ์ (Relationship Marketing)
การตลาดเชิงสัมพันธ์เป็นการที่ธุรกิจหรือผู้ผลิตมีการสร้างและพัฒนาระบบเพื่อ แลกเปลี่ยนเชิงสัมพันธ์กับสมาชิกภายในช่องทาง เพราะการสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาว กับสมาชิกในช่องทางช่วยลดความขัดแย้งและส่งเสริมความร่วมมืออย่างยั่งยืน การตลาดเชิงสัมพันธ์ เป็นวิธีที่ช่วยสร้างความไว้วางใจและความมุ่งมั่นร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับที่
วิธีการดําเนินการ ธุรกิจควรจัดทําโปรแกรมการสร้างความสัมพันธ์ เช่น การให้ การสนับสนุนในด้านการตลาด การฝึกอบรม และการสร้างสิ่งจูงใจให้กับสมาชิก รวมถึงการจัด กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ เช่น การสัมมนา การเยี่ยมชมโรงงาน หรือกิจกรรมสันทนาการเพื่อ เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
การตรวจสอบ ธุรกิจควรทําการสํารวจความคิดเห็นของสมาชิกเกี่ยวกับความพึงพอใจใน ความสัมพันธ์ที่ได้รับ รวมถึงการประเมินผลกระทบที่เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ เช่น การเพิ่ม ยอดขาย การลดปัญหาความขัดแย้ง หรือการเพิ่มความจงรักภักดีของสมาชิก หากพบว่าความสัมพันธ์ ยังไม่เข้มแข็งพอ ควรปรับปรุงโปรแกรมการสร้างความสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น