Page 201 - Channels and Distribution Management
P. 201

การเพิ่มมูลค่า และการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Melnyk, Stewart and Swink, 2023)
จากแนวคิดของนักวิชาการเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานข้างต้นสรุปได้ว่าห่วงโซ่อุปทาน หมายถึง การจัดการและการประสานงานระหว่างองค์กรและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และการจัดจําหน่ายสินค้าหรือบริการ ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ และการขนส่ง ไป จนถึงการส่งมอบสินค้าให้ถึงลูกค้าขั้นสุดท้าย โดยมุ่งเน้นการบูรณาการกระบวนการเหล่านี้เพื่อลด ต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าให้แก่สินค้าหรือบริการ ตลอดจนตอบสนองต่อความต้องการ ของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
9 .1 .2 คว า มส า คัญขอ งห ่ว งโซ ่อ ุป ท า น ( Im p or tanc e of Sup p ly C hain)
ห่วงโซ่อุปทานมีความสําคัญเนื่องจากสามารถช่วยบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจหลาย ประการได้เช่น การควบคุมกระบวนการผลิตสามารถปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ลดความเสี่ยงใน การเรียกคืนและการฟ้องร้อง รวมถึงช่วยในการสร้างตราสินค้าผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง ในเวลาเดียวกัน การควบคุมขั้นตอนการจัดส่งสามารถปรับปรุงการบริการลูกค้าได้ การจัดการห่วงโซ่อุปทานให้โอกาส มากมายแก่บริษัทต่างๆ ในการปรับปรุงอัตรากําไรของธุรกิจ
ดังนั้นการจัดการห่วงโซ่อุปทานถือเป็นส่วนสําคัญของธุรกิจเกือบทุกๆ ธุรกิจ และเป็นสิ่ง สําคัญต่อความสําเร็จรวมถึงสามารถการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและกระบวนการสําคัญๆ ดังต่อไปนี้
1. การยกระดับการบรกิ ารลูกค้า (Customer Service Enhancement)
การดําเนินธุรกิจเพื่อประสบความสําเร็จด้วยการจัดการห่วงโซ่อุปทานการเพิ่มบริการ ลูกค้าถือเป็นส่วนสําคัญหนึ่งที่ธุรกิจจะต้องเข้าใจถึงความต้องการ และสร้างกลยุทธ์ให้สอดคล้องต่อ ลูกค้าไม่ใช่เพียงแค่จัดการต่อความกังวลของลูกค้าเท่านั้นยังรวมถึงการคาดการณ์ในสิ่งที่ลูกค้า ต้องการโดยไม่เกิดปัญหาด้วย การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีต่อการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและ การเพิ่มอัตรากําไรของธุรกิจ ซึ่งธุรกิจสามารถเพิ่มบริการลูกค้าได้ดังต่อไปนี้
1) การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) การเพิ่มบริการลูกค้าด้วย การจัดการสินค้าคงคลังนั้นธุรกิจต้องมีการติดตามด้านอุปสงค์ของตลาดที่ลูกค้ามีความต้องการต่อ สินค้าในช่วงเวลาใด และมั่นใจว่าลูกค้าเมื่อเกิดความต้องการจะมีสินค้าเพื่อตอบสนองในเวลานั้นแต่ การจัดการนั้นจะต้องไม่มีสินค้าคงเหลือภายในคลังมากจนเกินไปจะทําให้เกิดต้นทุนสินค้าคงคลงที่ไม่ จําเป็นเพิ่มขึ้นแต่ก็ต้องมีมีสินค้าเพียงพอต่อการจําหน่าย
2) การจัดการความสัมพันธ์ (Relationship Management) การเพิ่มบริการลูกค้าที่ ดีจะมีความเกี่ยวข้องกับซัพพลายเออร์ และผู้ผลิตเพราะการจะช่วยให้เกิดการเจรจาต่อรองที่จะได้รับ ข้อตกลงที่ดีที่สุดรวมถึงทําให้มั่นใจได้ว่าจะมีความพร้อมของสินค้าสําหรับธุรกิจเพื่อนําเสนอไปยัง ลูกค้า
   Channels and Distribution Management 191
  
























































































   199   200   201   202   203