Page 202 - Channels and Distribution Management
P. 202

   192 การจััดการช่่องทางการจััดจัําหน่่ายและการกระจัายสิิน่ค้้า 192
  3) การจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation and Logistics Management) การเพิ่มบริการลูกค้าด้านการขนส่งและโลจิสติกส์จะเป็นสิ่งสําคัญอย่างมากที่เมื่อลูกค้ามีความต้องการ ในตัวสินค้าจะต้องทําให้ลูกค้าเกิดความประทับใจตั้งแต่เริ่มต้นคือตั้งแต่การได้รับคําสั่งซื้อจนถึงการส่ง มอบสินค้าในสภาพที่ถูกต้อง เวลาที่ถูกต้อง สถานที่ที่ถูกต้อง ดังนั้นธุรกิจจะต้องมีการประสานงานกับ ฝ่ายคลังสินค้าเพื่อให้แน่ใจว่าคําสั่งซื้อของลูกค้านั้นจะได้รับการจัดเตรียมตามจํานวน การบรรจุสินค้า มีความปลอดภัย การจัดส่งสามารถจัดส่งได้ตามเวลา ฯลฯ
นอกจากนี้ยังรวมถึงการจัดการด้านการคืนสินค้าและการเปลี่ยนสินค้าสําหรับลูกค้า ด้วยการเพิ่มบริการลูกค้าอาจไม่ใช่ผู้บริโภครายบุคคลแต่อาจเป็นธุรกิจ องค์กร และสถาบัน ที่ธุรกิจ จะต้องมอบประสบการณ์ด้านการบริการที่มีคุณภาพสูงให้มีความเป็นมาตรฐานหรือเกินความคาดหวัง ของลูกค้า ดังนั้นการเพิ่มบริการลูกค้าจะต้องแน่ใจว่าทุกขั้นตอนของกระบวนการห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ ต้นน้ําจนถึงปลายน้ําจะต้องได้ประสิทธิภาพทุกขั้นตอนและได้รับประสิทธิผลมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไป ได้
ตารางที่ 9.1 กิจกรรมและกระบวนการสําคัญในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน กิจกรรม/กระบวนการสาคัญ ข้อมูลสาคัญ
    การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการความสัมพันธ์ การจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์
รักษาระดับสินค้าคงคลังให้เพียงพอต่อความต้องการของ ลูกค้า หลีกเลี่ยงการเกิดสินค้าค้าง สต๊อกที่ไม่จําเป็นและลด ต้นทุนการจัดเก็บ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างซัพพลายเออร์และลูกค้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีความพร้อมในการส่งมอบสินค้าตามเวลา ที่กําหนด
ปรับปรุงการจัดส่งสินค้าให้ตรงเวลาและลดความเสียหาย ของสินค้าระหว่างการขนส่ง รวมถึงการจัดการการคืนสินค้า อย่างมีประสิทธิภาพ
      2. การลดต้นทุนการดาเนินงาน (Operating Cost Reduction)
การจัดการห่วงโซ่อุปทานจะช่วยให้สามารถปรับปรุงผลกําไรของธุรกิจด้วยการควบคุม ต้นทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้นทุนในการดําเนินงานทําให้เกิดโอกาสและสร้างข้อได้เปรียบทางด้าน การแข่งขันต่อธุรกิจได้ประกอบด้วยต้นทุนดังต่อไปนี้
1) ต้นทุนการลงทุน (Investment Cost) ธุรกิจในปัจจุบันที่เกิดขึ้นภายใต้ การจัดการของห่วงโซ่อุปทานมักจะเกี่ยวกับผู้ผลิต ผู้จัดหาสินค้าและวัตถุดิบ ผู้จัดจําหน่าย การค้าส่ง การค้าปลีก ที่มีความหลากหลายของขนาดธุรกิจกระจายไปทั่วทุกภูมิศาสตร์ และทั่วโลก ดังนั้น การลงทุนถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่ธุรกิจจําเป็นต้องตัดสินใจด้วยข้อมูลที่รอบคอบ เช่น การลงทุน

























































































   200   201   202   203   204