Page 225 - Channels and Distribution Management
P. 225

10.2.1 การจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ (Strategic Purchasing)
ผู้จัดหาวัตถุดิบและส่วนประกอบเป็นส่วนสําคัญของห่วงโซ่อุปทานที่มีบทบาทสําคัญใน การส่งมอบวัสดุที่จําเป็นในการผลิตสินค้า การจัดการที่มีประสิทธิภาพในส่วนนี้มีผลโดยตรงต่อ ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ การเลือกผู้จัดหาที่มีความสามารถและการสร้างความสัมพันธ์ที่ ดีกับผู้จัดหาวัตถุดิบ/ส่วนประกอบจึงเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งในการประสบความสําเร็จของธุรกิจ การทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับผู้จัดหาจะช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายในด้านการจัดหา วัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพิจารณาในเรื่องของอุปสงค์และอุปทาน การตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงในความต้องการ และการวิจัยตลาดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และเสนอทางเลือกใหม่ๆ เพื่อ ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบ และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ สูงสุด
1. เป้าหมายของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Supplier’s Goal)
ธุรกิจต้องกําหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการทํางานร่วมกับผู้ป้อนวัตถุดิบ เพื่อให้ การจัดหาวัตถุดิบสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ลดต้นทุนการผลิต และตอบสนองต่อ การเปลี่ยนแปลงในความต้องการอย่างรวดเร็ว การวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบร่วมกับผู้ป้อนวัตถุดิบเป็น อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นธุรกิจต้องมุ่ง เป้าหมายที่ชัดเจนต่อผู้ขายปัจจัยทางการผลิตดังต่อไปนี้
1) พิจารณาอุปสงค์และอุปทานที่ต้นทุนต่ําสุดเป็นการพิจารณาต่อกําลังการผลิตที่ สอดคล้องต่อความต้องการของตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการสั่งซื้อวัตถุดิบ หรือวัสดุ ประกอบมากเกินไปจนทําให้เกิดความเสียหายต่อต้นทุนที่อาจจะเกิดต้นทุนจมเนื่องจากเกินกําลัง การผลิตรวมทั้งการจัดซื้อที่น้อยเกินไป หรือไม่มีการวางแผนต่อการจัดซื้อวัตถุดิบ หรือวัสดุประกอบ ในช่วงที่มีความต้องการสูง หรือขาดแคลนส่งผลต่อต้นทุนที่สูงกว่าปกติ
2) ตอบสนองเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงในความต้องการเพื่อทําให้เกิดการขาดแคลน สินค้าน้อยที่สุดอย่างทันเวลา ซึ่งวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนประกอบอาจเกิดการขาดแคลนได้ โดยเฉพาะ วัตถุดิบที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมส่งผลต่อการขาดแคลนในช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้น ธุรกิจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงต่อการขาดแคลนสินนั้นเพื่อกระทบต่อการผลิตสินค้าให้กับลูกค้าได้ อย่างทันท่วงที เช่น การนําเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อทดแทนสินค้าเดิมที่เกิดจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ในช่วงนั้น หรือหาวัตถุดิบที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงเพื่อสามารถผลิตทดแทนสินค้านั้นได้โดยไม่มีต้นทุน เพิ่ม หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
3) วิจัยตลาดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และเสนอทางเลือกเป็นการที่ธุรกิจร่วมมือกันกับผู้ จัดหาวัตถุดิบ หรือผู้ผลิตวัตถุดิบเพื่อให้ได้มาต่อคุณสมบัติของวัตถุดิบไม่ให้เกิดการขาดแคลนสามารถ มีวัตถุดิบเพียงพอต่อการผลิตทุกช่วงเวลาความต้องการของตลาด รวมถึงการพัฒนาวัตถุดิบให้สามารถ
   Channels and Distribution Management 215
  


























































































   223   224   225   226   227