Page 226 - Channels and Distribution Management
P. 226
216 การจััดการช่่องทางการจััดจัําหน่่ายและการกระจัายสิิน่ค้้า 216
ทดแทนจากวัตถุดิบหลักได้ และที่เมื่อสินค้าออกมาแล้วจะเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด สามารถใช้วัตถุดิบ ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด เช่น การทําหมึกสดซาซิมิขนาดที่เหมาะสมคือ 2 นิ้ว จะได้สัดส่วนเปอร์เซ็นต์ ของปริมาณวัตถุดิบ (Yield) ที่ใช้ได้จริง 95% และสูญเสียปริมาณวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้ 5% ซึ่งต่างจาก การใช้ปลาหมึกที่มีขนาด 3 นิ้วสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของปริมาณวัตถุดิบ (Yield) ที่ใช้ได้จริง 85% และ สูญเสียปริมาณวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้ 15%
2. เกณฑ์การคัดเลือกวัตถุดิบ (Material Selection Criteria)
เกณฑ์การคัดเลือกวัตถุดิบ เป็นกระบวนการที่สําคัญในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากวัตถุดิบเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อคุณภาพสินค้า ต้นทุนการผลิต และความสามารถในการ ตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ การคัดเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสมจึงต้อง คํานึงถึงหลายปัจจัยเพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดได้
1) เลือกจากต้นทุนและประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด เป็นการคัดเลือกคุณสมบัติ วัตถุดิบเพื่อนํามาผลิตสินค้ามักได้ยินว่าการเป็นจัดซื้อที่ดีต้องซื้อวัตถุดิบที่มีราคาที่ถูกที่สุดแต่ความ เป็นจริงของการจัดซื้อต้องดูราคาวัตถุดิบร่วมกับคุณภาพของสินค้า หรือสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของ ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ได้จริงเพื่อหาต้นทุนวัตถุดิบที่แท้จริง
2) เลือกตามกําลังการผลิต ความเร็ว และความยืดหยุ่น เป็นการจัดหาวัตถุดิบนั้น นอกจากเกณฑ์ในการคัดเลือกคุณสมบัติวัตถุดิบและราคาต้นทุนสินค้าที่แท้จริงแล้ว ธุรกิจจะต้อง พิจารณาว่าวัตถุดิบนั้นสามารถทําให้ฝ่ายผลิตเกิดความรวดเร็วในการผลิตสินค้าได้หรือไม่ และ สามารถยืดหยุ่นต่อการทํางานได้หรือไม่ เช่น การทําปลาหมึกซาซิมิขนาด 2 นิ้ว จะมีการตัดชิ้นส่วน เป็นคําได้พอดี ง่ายต่อการตัดตกแต่งชิ้นปลาหมึกโดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นขนาด 3 นิ้ว การตกแต่งชิ้นปลาหมึกสามารถทําได้ แต่จะใช้เวลาการตกแต่งมากกว่า ดังนั้น ธุรกิจควรเลือกซื้อ วัตถุดิบที่ส่งผลต่อการดําเนินงานของฝ่ายผลิตที่มีความยืดหยุ่นและรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เป็นการลดต้นทุน
3) การเลือกทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นการดําเนินธุรกิจเพื่อเกิดความ หลากหลายและมีประสิทธิภาพต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจต้องมีการคิดค้น พัฒนาให้เกิด การสร้างเป็นสินค้าตัวใหม่ รวมทั้งจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาทดแทนป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบ และสร้างสินค้าใหม่ที่มีความหลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้ของลูกค้าและตอบสนองต่อความ ต้องการ เช่น การทํากุ้งผีเสื้อ ปกติจะใช้เป็นกุ้งกุลาดําเนื่องจากทุกวันนี้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดํา มีจํานวนน้อยเนื่องจากสภาพอากาศ ต้นทุนของอาหาร โรคระบาด ฯลฯ ส่งผลต่อราคาที่ต้นทุนแพง และมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการผลิต