Page 46 - Channels and Distribution Management
P. 46
36 การจััดการช่่องทางการจััดจัําหน่่ายและการกระจัายสิิน่ค้้า 36
1) การตั้งราคาเพื่อการแข่งขัน เป็นการตั้งราคาโดยการกําหนดราคาที่อิงจากราคา ของคู่แข่งเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาด การกําหนดราคานี้ช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดและดึงดูด ลูกค้าได้มากขึ้น แต่ต้องระวังผลกระทบจากสงครามราคา
2) การตั้งราคาต่ําช่วงแรก เป็นการตั้งราคาเพื่อเจาะตลาดใหม่โดยตั้งราคาให้ต่ํากว่า คู่แข่งเพื่อดึงดูดลูกค้าและสร้างฐานลูกค้าใน
3) การตั้งราคาสูงช่วงแรก เป็นการตั้งราคาสูงในช่วงแรกเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่พร้อม จ่ายในราคาสูงสุดสําหรับสินค้านวัตกรรม
4) การตั้งราคาสูง เป็นการตั้งราคาสูงเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่หรูหราและคุณภาพสูง ให้กับผลิตภัณฑ์
5) การตั้งราคาด้วยการใช้หลักจิตวิทยา เป็นการตั้งราคาที่ลงท้ายด้วยเลขคี่ เช่น 999 บาท ช่วยสร้างภาพลวงตาของราคาที่ต่ํา
6) การตั้งราคาด้วยตัวเลขคู่ เป็นการตั้งราคาที่ลงท้ายด้วยเลขคู่ เช่น 10.00 บาท ช่วยให้ลูกค้ามองว่าสินค้ามีคุณภาพสูง
7) การตั้งราคาตามช่วงเวลา เป็นการตั้งราคาที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลเพื่อกระตุ้น ความต้องการและปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลัง
8) การตั้งราคาแบบแพ็ครวม เป็นการรวมสินค้าหลายชิ้นในราคาพิเศษเพื่อกระตุ้น การซื้อ
9) การตั้งราคาเพื่อขายอุปกรณ์เสริม เป็นการตั้งราคาสําหรับสินค้าเสริมเพื่อเพิ่ม ยอดขาย
10) การตั้งราคาแบบหลอกล่อ เป็นการตั้งราคาที่ใช้ตัวเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อชี้นํา การตัดสินใจของลูกค้า
2. ส่วนลดและส่วนยอมให้
ส่วนลดและส่วนยอมให้ เป็นการกําหนดราคาของสินค้าหรือบริการ ด้วยการให้ ส่วนลด และส่วนยอมให้จากราคาปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ต่อช่องทางการจัดจําหน่ายโดยผู้ผลิต หรือผู้ผลิตจะทําการปรับเปลี่ยนรายการราคาสินค้าด้วยการพิมพ์ลงบนฉลากบรรจุภัณฑ์ให้จัด จําหน่ายในราคาขายปลีกที่กําหนดเหตุผลของการให้ส่วนลด และส่วนยอมให้เป็นการเพิ่มยอดขายใน ระยะสั้น ซึ่งผู้ผลิตสามารถใช้กลยุทธ์ราคาด้วยการให้ส่วนลด หรือส่วนยอมให้ได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้
1) ส่วนลดปริมาณ (Quantity Discount) เป็นการให้ส่วนลดเมื่อซื้อในปริมาณมาก เพื่อกระตุ้นการซื้อ
2) ส่วนลดเงินสด (CashDiscount)เป็นการให้ส่วนลดสําหรับการชําระเงินก่อน กําหนดช่วยเพิ่มกระแสเงินสดของผู้ผลิต
3) ส่วนลดตามฤดูกาล (Seasonal Discount) เป็นการให้ส่วนลดตามฤดูกาล เพื่อ เพิ่มยอดขายในช่วงที่มียอดขายต่ํา