Page 98 - Channels and Distribution Management
P. 98

   88 การจััดการช่่องทางการจััดจัําหน่่ายและการกระจัายสิิน่ค้้า 88
    ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทาง การตลาด
ภูมิศาสตร์
สังคมและเศรษฐกิจ
เกณฑ์พิจารณา
ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อ และการเลือกช่องทางการจัดจําหน่ายที่เหมาะสมกับพื้นที่ และวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อ การขยายตลาดและการปรับโครงสร้างช่องทางการจัด จําหน่ายให้เหมาะสมกับการเติบโตของตลาดและ การเคลื่อนย้ายประชากร
     4.3.2 โครงสร้างช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค (Channel Structure of Consumer Product)
โครงสร้างช่องทางการจัดจําหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค คือวิธีการที่ผู้ผลิตนําสินค้าจาก ต้นทางสู่ผู้บริโภค โดยการเลือกช่องทางที่เหมาะสมช่วยให้กระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้ามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้คนกลางและโครงสร้างที่เหมาะสมเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์มี ความสําคัญในการนําสินค้าสู่ลูกค้าเป้าหมายการจัดการช่องทางที่ดีเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ของธุรกิจ
ผู้ผลิตควรพิจารณาคนกลางและระดับของโครงสร้างช่องทางตามลักษณะตลาด เป้าหมาย ผลิตภัณฑ์ สถานการณ์ตลาด และความสามารถของคนกลาง โดยสินค้าสําหรับอุปโภค บริโภคแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Products)
สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อบ่อยตามความเคยชิน เช่น น้ําตาล น้ํายาซักผ้า และดินสอ ผู้บริโภค ตัดสินใจซื้อโดยไม่ต้องเปรียบเทียบ สินค้ามักมีราคาต่ําและสามารถทดแทนกันได้ง่าย การจัดจําหน่าย จึงต้องครอบคลุมและเข้าถึงง่าย รวมถึงมีการส่งเสริมการขายจํานวนมากเพื่อกระตุ้นการซื้อ ลักษณะ เด่นของสินค้าสะดวกซื้อ ซื้อบ่อย ราคาต่ํา กําไรต่อหน่วยไม่มาก แต่เน้นปริมาณการขาย สินค้าใช้งาน ง่าย ไม่มีเทคนิคซับซ้อน และมีคุณสมบัติไม่ต่างจากผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน
ตารางที่ 4.7 ลักษณะสินค้าสะดวกซื้อและกลยุทธ์การจัดจําหน่าย ลักษณะสินค้าสะดวกซื้อ       กลยุทธ์การจัดจาหน่าย
   ราคาต่ําและทดแทนกันได้ง่าย
ซื้อบ่อยและตัดสินใจซื้อเร็ว
ไม่มีการเปรียบเทียบสินค้าระหว่างกัน การกระจายสินค้าหลากหลายจุดขาย
การจัดจําหน่ายครอบคลุมและเข้าถึงง่าย ส่งเสริมการขายในปริมาณมาก
        


















































































   96   97   98   99   100