Page 48 - จิตรกรรมปริศนาธรรมภาคใต้
P. 48
ภําพที่ 1-22 ภาพนรกภูมิ วัดโพธิ์ปฐมาวาส สงขลา
สีทันดร พ้นจากเขาสัตตบริพันธ์แล้วจึง เป็นทวีปแดนมนุษย์โลก พ้นทวีปจะ เป็นจักรวาลเหนือเขาสัตตบริพันธ์และ เขาพระสุเมรุเป็นภาพวิมานที่สถิตของ พระพรหม เหนือขึ้นไปเป็นภาพหมู่เมฆ วิมาน พระอาทิตย์ พระจันทร์ อากาศ ใต้เขาพระสุเมรุเป็นรูปปลาใหญ่หนุนอยู่ เหนือข้ึนไปจึงเป็นแดนนิพพาน ส่วน ใต้มนุษย์เป็นแดนนรก ส่วนเหนือเขา พระสุเมรุขึ้นไปนิยมเป็นภาพปราสาท หมายถึง วิมานของเทพชั้นต่างๆ (สมชาติ มณีโชติ, 2529:158) ดังปรากฏภาพเขียน ไตรภูมิท่ีมีเน้ือหาดังกล่าวบริเวณผนัง
11) ไตรภูมิโลกสัณฐําน
ไตรภูมิ คือ การชี้ให้เห็นโทษของการทาชั่วและผลของ การทาดีไตรภูมิ แปลว่า แดนสาม คือ กามภูมิ รูปภูมิและอรูปภูมิ สรรพสัตว์ทั้งหลายย่อมเวียนวนไปมาและเกิดในสามภูมิน้ีตามแต่ บุญบาปท่ีตนกระทาไว้ถ้าสร้างกรรมดีก็จะได้ไปเกิดที่เป็นสุข คือ “สวรรค์” หากสร้างกรรมชั่วก็จะไปเกิดที่ชั่ว คือ “นรก” (สมชาติ มณีโชติ, 2529: 88)
เรื่องราวไตรภูมินิยมเขียนมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ยังไม่เคยพบหลักฐานไตรภูมิท่ีเก่าไปกว่านี้ความนิยมในการเขียนภาพ ไตรภูมินิยมเขียนไว้ด้านหลังพระประธานในพระอุโบสถและนิยม นามาเขียนควบคู่กับเรื่องพุทธประวัติและทศชาดก โดยจะแสดงออก เปน็ภาพรปูเขาพระสเุมรอุย่กูลางมีปราสาททปี่ระทบัพระอนิทร์อย่บูน ยอดเขาทั้งสองข้างเขาพระสุเมรุเป็นภูเขาเรียงจากสูงลดหลั่นลงมา จานวน 7 ภูเขา เหมือนกันทั้ง 2 ข้าง ภูเขา ท้ัง 7 คือ สัตตบริพันธ์ท่ีเป็น รูปวงแหวนล้อมเขาพระสุเมรุระหว่างภูเขาแต่ละลูกคั่นด้วยแม่น้า
ภําพที่ 1-23 ภาพมารผจญ – ชนะมาร วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร สงขลา
38