Page 49 - จิตรกรรมปริศนาธรรมภาคใต้
P. 49
ด้านหลังพระประธานวัดสุวรรณคีรี จังหวัดสงขลา ซึ่งเขียนตามองค์ประกอบแบบแผนช่างหลวงภาคกลาง เหมือนกับ วัดสุวรรณาราม เพราะเป็นวัดท่ีเขียนข้ึนในสมัยเดียวกันมีรูปแบบการเขียนภาพเนื้อหาดังกล่าวตามแบบแผนช่างหลวง และเป็นวัดที่สาคัญของจังหวัดสงขลา
กํามภูมิ เป็นดินแดนที่เกี่ยวข้องกับรัก โลภ โกรธ หลง แบ่งเป็นสุคติภูมิและอบายภูมิ(พระพาณิช ญาณชีโว, ม.ป.ป.: 2)
1. สุคติภูมิ ปรากฏในภาพพุทธประวัติเสมอๆ เช่น ตอนมหาภิเนษกรมณ์(ออกบวช)ได้ กล่าวถึง ท้าวจตุ โลกบาลทงั้ สี่ ซงึ่ อยสู่ วรรคช์ น้ั จาตมุ หาราชกิ า ไดล้ งมาแวดลอ้ มประจา เทา้ มา้ ทงั้ 4 เทา้ ของกณั ฐกะ ดงั ปรากฏในภาพจติ รกรรม ฝาผนังฉากพุทธประวัติวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร และวัดวัง เป็นต้น
ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงถึงฉากสุคติภูมิ บริเวณผนังด้านหลังพระประธานวัดสุวรรณคีรีปรากฏภาพหมู่ ทิพยวิมานของเหล่าเทวดา ล่องลอยในอากาศตามจักรราศี โดยเวียนไปรอบเขาพระสุเมรุโดยมีสวรรค์ช้ันปรนิมมิตวสวัตดี เป็นช้ันสูงสุดและช้ันจตุมหาราชิกาอยู่ช้ันต่าสุด ใกล้กับมนุษยภูมิ ส่วนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่อยู่เหนือช้ันจาตุมหาราชิกาน้ัน อยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุเป็นท่ีสถิตของพระอินทร์และบริวารนางฟ้า เทวดา พระอินทร์นั้นทรงช้างเอราวัณ ซ่ึงมี 3 เศียร เป็นพาหนะ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และมีส่ิงท่ีควรแก่การกล่าวถึง อีกคือ ต้นไม้ช่ือ ปาริชาต เมื่อผลิดอกบานพร้อมกันจะ ส่งกล่ินหอมฟุ้งไปไกลถึง 100 โยชน์ เหล่าเทวดาจะมาชื่นชมดอกปริชาต สวรรค์ชั้นท่ี 3 คือ ยามะ สวรรค์ชั้นน้ีมีแต่ความ สงบ มที า้ วสยามเทวราชเปน็ ใหญ่ ความรม่ เยน็ เปน็ สขุ บนสวรรค์ ชนั้ นแี้ ตกตา่ งไปจากชนั้ ดาวดงึ ส์ เพราะทสี่ วรรคช์ นั้ ดาวดงึ ส์ ยังต้องมีเร่ืองรบกับยักษ์ที่เชิงเขาพระสุเมรุอยู่เสมอๆ และสวรรค์ช้ันท่ี 4 คือ ชั้นดุสิต เป็นสวรรค์ช้ันที่พุทธมารดามาจุติ เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จมาเทศนาโปรดที่สวรรค์ชั้นดุสิตนี้ยังเป็นท่ีประทับของอดีตพุทธอีกหลายองค์ เช่น พระพุทธ ศากยโคดมของเรา
2. อบํายภูมิ หรือ ทุคติภูมิ เป็นแดนชั่วร้ายประกอบด้วยนรกภูมิ เปรตภูมิ อสูรกายภูมิและดิรัจฉานภูมิ (พระพาณิช ญาณชีโว, ม.ป.ป.: 5-39) ปรากฏเรื่องอบายภูมิแสดงไว้อยู่หลายตอนในจิตรกรรมฝาผนังวัดสุนทราวาส จังหวัดพัทลุง วัดสุวรรณคีรีและวัดจะท้ิงพระ จังหวัดสงขลา เช่น ตอนเทโวโรหนปริวัตต์ คือ ภายหลังจากท่ีพระพุทธองค์ ได้เสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เม่ือคราวไปเทศนาโปรดพุทธมารดา โดยกลับมาท่ีเมืองสังกัสสะ ในวันท่ีพระพุทธ องค์เสด็จกลับลงมานั้นได้แสดงปาฎิหาริย์ให้โลกทั้งสามได้เห็นกันทั้งหมด คือ เทวภูมิ มนุษยภูมิและนรกภูมิ นอกจากนี้ ในทศชาตชิ าดกเรอื่ ง เนมรี าช พระมาตลุ ไี ดอ้ ญั เชญิ พระเนมรี าชเสดจ็ ไปยงั เทวโลก ระหวา่ งทางไดแ้ วะชมอบายภมู ิ พระองคไ์ ด้ ทอดพระเนตรเห็นทุกคติภูมิทั้ง 4 คือ นรกภูมิ เปรตภูมิ อสูรกายภูมิและดิรัจฉานภูมิ รายละเอียดภูมิต่างๆ ในอบายภูมิน้ีมี รายละเอียดในจิตรกรรมฝาผนังวัดมัชฌิมาวาสวรวิหารตอนทศชาติชาดกด้วย
รูปภูมิ คือ สวรรค์ของพรหมมีรูป เรียกว่า พรหมโสฬส แปลว่า พรหม 16 ช้ัน แบ่งตามผู้สาเร็จรูปฌาน 4 เม่ือตายแล้วไปเกิดในภูมินั้นๆรูปกายของพรหมแดนน้ีไม่มีการเคล่ือนไหว มีความสุขสบายย่ิง ไม่มีเรื่องกามเข้ามาปะปน พรหมช้ันน้ีมีแต่รูปกายไม่มีจิตใจเก่ียวข้องในกิเลส แบ่งเป็น 16 ช้ัน ตามคุณภาพของฌาน (สมชาติ มณีโชติ, 2529: 90) ดังปรากฏในภาพฉากด้านหลังพระประธานวัดสุวรรณคีรี แสดงลักษณะรายละเอียดของพรหมเปรียบเหมือนสวรรค์แต่ละ
39