Page 50 - จิตรกรรมปริศนาธรรมภาคใต้
P. 50

  ชั้น โดยพิจารณาความสูงต่าของช้ันด้วย จานวนอายุของผู้ที่จุติอยู่ในช้ันน้ันๆ กับระยะทางระหว่างช้ันเป็นเครื่องจัด เช่น ผู้ที่จุติในอตัปปาพรหมจะมีอายุยืน 2,000 มหากัลป์และระยะทางจากชั้นอตัปปาขึ้นไปถึงช้ันสุทัสสา มีระยะทางไกล 3,938,400 โยชน์
อรูปภูมิ คือ สวรรค์ของพรหมไม่มีรูป มีสวรรค์ 4 ช้ัน แบ่งตามผู้สาเร็จอรูปฌาน 4 เมื่อตายแล้วจะได้ ไปเกิดในอรูปภูมิ ซึ่งมี 4 ภูมิ เนื่องจากพรหมท้ัง 4 ไม่มีรูปจึงเรียกว่า “พรหมโลก” เป็นที่สถิตของพรหมโลกเป็นผู้มีสภาวะ จิตละเอียดยิ่ง (พระพาณิช ญาณชีโว, ม.ป.ป.: 94-95) ซึ่งจะมีปรากฏภูมิดังกล่าวเป็นส่วนประกอบฉากไตรภูมิในจิตรกรรม ฝาผนังวัดสุวรรณคีรีซึ่งมีแบบแผนตามช่างหลวงภาคกลางของวัดสุวรรณารามท่ีในช่วงน้ีนิยมเขียนไว้ในผนังด้านหลัง พระประธานตามประเพณีโบราณท่ีให้ความสาคัญกับภาพไตรภูมิ
จิตรกรรมฝาผนังในภาคใต้ท่ีแสดงเร่ือง ไตรภูมิโลกสัณฐานคือ แดนสาม ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ซ่ึงจะเขียนไว้ผนังด้านหลังพระประธาน ตามแบบบแผนช่างหลวงภาคกลางท่ีนิยมเขียนช่วง รัชกาลท่ี 1 - 3 เช่น วัดสุวรรณรามท่ีสมบูรณ์ ในภาคใต้ คือ วัดสุวรรณคีรี ส่วนวัดอื่นท่ีอยู่ในช่วงสมัยเดียวกัน จะเลือกวาดแสดงออกบางส่วนที่ปรากฏในฉาก พุทธประวัติ เช่น วัดสุนทราวาส วัดชลธาราสิงเห ฉากเสด็จลงจากดาวดึงส์และวัดวัง วัดมัชฌิมาวาส วรวิหารฉากเนมีราช ท่องสวรรค์และนรก แต่ในช่วง รัชกาลที่ 4 – 6 ช่างมีอิสระมากข้ึนจะเลือกแสดงออก บางตอนดังปรากฏภาพอบายภูมิฉากด้านหลัง พระประธานวัดโพธิ์ปฐมาวาส วัดจะท้ิงพระ วัดมหิงษา ราม และวัดโคกเคียน ซึ่งเป็นการช้ีให้เห็นโทษของการ ทาชั่วจะได้รับโทษทัณฑ์ตามการกระทาสอดคล้องกับ
แนวเร่ืองไตรภูมิ
  ภําพท่ี 1-24 ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณคีรี สงขลา 40
               





























































































   48   49   50   51   52