Page 54 - จิตรกรรมปริศนาธรรมภาคใต้
P. 54

  ควํามเช่ือในไตรภูมิโลกสัณฐําน ไตรภูมิ แปลว่า แดนสามได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ กํามภูมิ คือ นรกระดับต่างๆ เป็นแดนทุกข์เดือดร้อนอยู่ในกามตัณหา ซึ่งเขียนภาพไว้ตอนล่างของผนังมักชารุดลบเลือน โลกมนุษย์และ สวรรคร์ ะดบั ลา่ ง ไดแ้ ก่ สวรรคด์ าวดงึ ส์ กร็ วมอยใู่ นกามภมู ิ สวรรคช์ นั้ ดาวดงึ สอ์ ยเู่ หนอื ยอดเขาพระสเุ มรอุ นั เปน็ แกนจกั รวาล ล้อมรอบด้วยภูเขาวงแหวนลดหลั่นกันเจ็ดวงท่ีเรียกว่า ภูเขาสัตตบริภัณฑ์เหนือข้ึนไปจากกามภูมิ คือ รูปภูมิเป็นแดนของ พรหมแบ่งออกเป็นหลายระดับก่อนไปถึงอรูปภูมิเป็นชั้นพรหมที่ไม่มีรูปเพราะหมดสิ้นกิเลสใดๆ ทั้งปวง พ้นนั้นคืออากาศ ธาตุอันหมายถึงสภาวะแห่งนิพพาน(สันติ เล็กสุขุม, 2548: 19-20) ดังปรากฏภาพด้านหลังพระประธานวัดสุวรรณคีรี วัดสุนทราวาส จะวาดภาพตามความเช่ือไตรภูมิเป็นความเช่ือเก่ียวกับภพภูมิว่ามีจริง โดยจะแสดงออกท้ัง 3 ภูมิในผนัง เดียวกัน เพ่ือให้เห็นถึงหลักกฎแห่งกรรมและหลักสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิตายแล้ววิญญาณไม่สูญหาย คงวนเวียนอยู่เพ่ือเกิดในชาติใหม่ภพใหม่ อันเนื่องมาจากผลของการกระทาในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติส่งผลในอนาคตชาติ ซ่ึงช่างจะออกแบบตามความเช่ือและเหมาะสมของพ้ืนท่ีของพระอุโบสถดังปรากฏคติความเช่ือดังน้ี
ชําวใต้มีควํามเช่ืออย่ํางเหนียวแน่นว่ําพระพุทธเจ้ํามีจริง และมีพระอังคาพยพเหมือนอย่างพระพุทธรูป ทุกประการ เช่น เช่ือว่าถึงแม้พระพุทธองค์ทรงปรินิพพานไปนานแล้ว แต่พุทธานุภาพยังคงมีอยู่จนกว่าจะส้ินศาสนาของ พระสรรเพชญพุทธเจ้าเม่ือครบ 5,000 พระวัสสา เช่ือว่าหลังจากน้ันจะถึงยุคของพระศรีอาริยเมตไตรย ซ่ึงมนุษย์จะมี ความบริบูรณ์เสมอกันทุกคน ถ้าผู้ใดมุ่งม่ันสร้างสมบุญและอธิษฐานจะได้พบยุคพระศรีอาริยเมตไตรยจะได้เกิดในยุคน้ัน การทาบุญของคนในภาคใต้ส่วนใหญ่จะเน้นการให้ทาน การไปวัด การฟังเทศน์ การเมตตากรุณาต่อสัตว์ การสร้าง ส่ิงสาธารณะประโยชน์ถวายเป็นสมบัติวัด อันเป็นทางไปสู่สวรรค์มากกว่าปรารถนาจะได้พระนิพพาน (สถาบันทักษิณ คดีศึกษา, 2529: 3452) ดังปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านทิศเหนือของวัดโพธิ์ปฐมาวาสซ่ึงช่างได้วาดภาพชาวบ้าน ไปฟังเทศน์ตามความเชื่อว่าการฟังเทศน์ฟังธรรมย่อมได้บุญกุศลมาก และภาพการสร้างสาธารณะประโยชน์ผนังด้านหน้า พระประธาน ซึ่งเป็นช่วงสมัยประวัติศาสตร์เจ้าเมืองสงขลา (บุญสังข์ ณ สงขลา) ได้สร้างเมืองใหม่ ซึ่งย้ายมาจากฝั่งหัว เขาแดง ช่างจึงนามาวาดและบันทึกไว้ตามความเช่ือดังกล่าวและภาพการเลี้ยงสัตว์เป็นภาพแสดงความเมตตาต่อสัตว์จะได้ บญุ กศุ ล ปรากฏเปน็ ภาพแทรกเรอื่ งพทุ ธประวตั วิ ดั วงั และวดั ชลธาราสงิ เห อนั มคี วามเชอื่ มโยงกบั ความเชอื่ แนวเรอื่ งไตรภมู ิ
ควํามเชื่อในพระพุทธศําสนํากับประเพณีท้องถ่ิน เป็นประเพณีที่สืบเน่ืองจากพุทธศาสนามีมากมายท้ังที่เป็น ประเพณีตามนักขัตฤกษ์อันเป็นวันสาคัญทางพุทธศาสนา เช่น ประเพณีทาบุญเดือนสิบ ซ่ึงประกอบด้วยการยกสารับ ต้ังเปรตการชิงเปรต และประเพณีลากพระในเดือน 11 ประเพณีบุญทั่วไป เช่น การเทศน์มหาชาติ ประเพณีก่อเจดีย์ทราย การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีประเพณีสืบเนื่องมาจากคนตาย คือ การทาบัวสาหรับบรรจุอัฐิ โดย สร้างเป็นรูปสถูปหรือเจดีย์ เมื่อถึงวันตายหรือพิธีวันสารท วันสงกรานต์ ญาติจะพากันไปทาบุญบังสุกุล เพ่ืออุทิศส่วนกุศล ให้ผู้ตาย เนื่องจากความเชื่อความผูกพันกับพุทธศาสนา (สถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2529, 3453) ดังนั้นชาวใต้จึงนิยมสร้าง วัดไว้ใกล้บ้าน หรือผู้ดีมีตระกูลนิยมสร้างวัดประจาตระกูลไว้ เพ่ือบุตรหลานได้บวชเรียน เพ่ือจะใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรม อื่นๆ ทางพุทธศาสนา เช่น การเผาศพ เก็บกระดูก และทาบุญต่างๆ ตามประเพณีท้องถิ่นตลอดจนเป็นที่พบปะ พักผ่อน หย่อนใจ เพราะถือว่าวัดเป็นศูนย์กลางของชาวบ้านในละแวกน้ัน และเป็นท่ีพ่ึงทางใจเป็นนาบุญของชาวบ้าน และจะนิยม สร้างวัดหรือศาสนสถานขนาดใหญ่ให้เป็นศูนย์กลางของคนในชุมชน
  44
          






























































































   52   53   54   55   56