Page 55 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 55
ั
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
็
์
ิ
7) สิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในสถานที่อันอาจเป็นประโยชน์เพิ่มเติม เช่น
สิ่งพิมพ์ กระดาษบันทึกข้อความ หรือหนังสือเกี่ยวกับความรู้ทางคอมพิวเตอร์เพื่อบ่งบอก
ถึงระดับความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของผู้ต้องสงสัย
8) จดบันทึกรายละเอียดสิ่งที่พบ สภาพของอุปกรณ์ รายละเอียด
การดำเนินการ รวมถึงร่องรอยของสิ่งผิดปกติ
ขั้นตอนที่ 6 การตรวจค้นและการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์
หลักการทั่วไปของการตรวจค้น และการเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน
ทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถดำเนินการตามแนวทางดังนี้
1) เจ้าหน้าที่ต้องสวมถุงมือก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง เพื่อป้องกัน
การปนเปื้อนของลายพิมพ์นิ้วมือบริเวณเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
2) ระบุตำแหน่งที่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ทั้งหมด พร้อมวางป้ายหมายเลขเพื่อใช้ในการอ้างอิง
3) บันทึกตำแหน่งของสภาพวัตถุพยานอย่างละเอียด และทำการถ่ายภาพ
ที่แสดงถึงตำแหน่งของวัตถุพยานที่พบ และต้องแสดงถึงความสัมพันธ์ของวัตถุพยานนั้น
กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ ก่อนการจัดเก็บหรือเคลื่อนย้ายวัตถุพยาน
4) รวบรวมรายข้อมูล ทำการจดบันทึกข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ชื่อเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ๆ ชอผู้ใช้งาน
ื่
ข้อมูลการเข้าใช้งานระบบปฏิบัติการ หรือระบบเครือข่าย รหัสผู้ใช้งาน สถานที่เกิดเหตุ
เลขที่ห้อง เป็นต้น
5) ทำการถ่ายภาพเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สงสัย
้
ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถกใชในการประกอบอาชญากรรมหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำ
ู
ความผิด
6) ทำการตรวจในช่อง DVD, CD ,FLOPPY DISK , CARD READER หรือ
ช่องต่อ USB ว่ามีอุปกรณ์ต่าง ๆ ติดหรือค้างอยู่หรือไม่
54 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน