Page 59 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 59
์
ิ
ั
ั
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
็
หมายเหตุ กรณีที่เครื่องมือไม่สามารถสำเนาข้อมูลจากตัวเครื่องได้ ให้กดดู
ข้อมูลจากอุปกรณ์โดยตรง เช่น ประวัติการโทรศัพท์ สมุดโทรศัพท์ SMS และ อีเมล
เป็นต้น โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหยื่อกับอาชญากร และพฤติการณ์แห่งคดี
พร้อมทั้งบันทึกภาพถ่ายหรือวิดีโอแสดงหน้าจอข้อมูลในแต่ละรายการ หรือหากมีอำนาจ
หน้าที่ทางกฎหมายและมีบุคลากรและเครื่องมือพร้อมอาจสกัดข้อมูลด้วยวิธี Chip-off
ขั้นตอนที่ 7 การบรรจุและการเคลื่อนย้าย (Packaging and Transportation)
สำหรับการเก็บวัตถุพยานนั้น ผู้กระทำต้องมีอำนาจทางกฎหมาย
จึงจะถือว่าเป็นวัตถุพยานที่ยอมรับได้ และสามารถนำไปประกอบการพิจารณาคดีได้
การตรวจเก็บวัตถุพยานนั้นต้องเก็บด้วยวิธีที่เหมาะสม และต้องมีการจดบันทึก
ระบุรายละเอียดของวัตถุพยานนั้น ๆ ให้ชัดเจน การจัดเก็บวัตถุพยานมีหลักสำคัญ ดังนี้
1) การตรวจเก็บวัตถุพยานแต่ละประเภทต้องดำเนินการตามหลักวิชาการ
2) การเก็บรวบรวมและการบรรจุหีบห่อ เจ้าหน้าที่ที่ทำการเก็บวัตถุพยาน
ควรเลือกชนิดของหีบห่อให้เหมาะสม แล้วทำการปิดผนึก พร้อมบันทึก ชื่อผู้ปิดผนึก
ผู้เก็บวัตถุพยาน วัน เวลาที่เก็บ สถานที่เกิดเหตุ ชนิดคดี ลักษณะ ตำแหน่งที่พบ
และรายละเอียดอื่น ๆ ให้ชัดเจน ครบถ้วน
3) วัตถุพยานประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีเครื่องเปิดอยู่ เมื่อทำการปรับ
เข้าสู่โหมดเครื่องบินแล้ว ให้นำบรรจุในซองกันกระแทรก ถ้าเครื่องไม่สามารถตัด
สัญญาณได้ให้บรรจุลงในถุงตัดสัญญาณ พร้อมระบุเลขเลขของวัตถุพยาน
4) วัตถุพยานอื่น ๆ ที่ตรวจเก็บได้ในสถานที่เกิดเหตุ เช่น DVD, CD,
FLOPPY DISK และ CARD READER ให้บรรจุลงในซองกันกระแทก หรือบรรจุให้มิดชิด
เพื่อป้องกันวัตถุพยานชำรุดและเสียหาย
5) ติดป้ายหมายเลขกำกับลงบนวัตถุพยานทุกชิ้น ห้ามติดบนวัตถุพยาน
โดยตรง
58 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน