Page 56 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 56
ั
ิ
็
์
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
7) กรณีสงสัยอุปกรณ์ที่เป็นระบบเครือข่าย ห้ามตัดไฟจากแหล่งจ่ายไฟ
หรือการกระทำอื่นใด เพราะจะทำให้ระบบได้รับความเสียหาย และจะสูญเสียข้อมูล
ที่สำคัญ
8) กรณีถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เปิดอยู่ อย่าเพิ่งปิด เพราะจะต้องถ่ายรูป
หน้าจอ และทำสำเนาความจำสำรองของเครื่อง (RAM) ก่อน เพราะหลักฐานในการทำผิด
อาจอยู่ในความจำสำรอง ไม่ใช่ใน Hard disk การปิดเครื่องทุกครั้ง จะทำลายความจำ
สำรองหมด
9) การสำเนาข้อมูล (Acquisition) ปฏิบัติดังนี้
• การสำเนาข้อมูลต้องทำโดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วเท่านั้น
• การสำเนาข้อมูลให้คำนึงถึงกระบวนการที่น่าเชื่อถือและสามารถ
ตรวจสอบได้
• สำเนาข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูลที่พร้อมใช้งาน
• หากพบข้อผิดพลาดระหว่างการสำเนาข้อมูล ให้จดบันทึก
รายละเอียดไว้
• กระบวนการยืนยันความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลที่สำเนาได้
ด้วยการคำนวณ และเปรียบเทียบค่า
• ค่าแฮช (Hash) ของต้นฉบับและสำเนา เช่น MD5, SHA1,
SHA256 เป็นต้น โดยดำเนินการอย่างน้อยสองรูปแบบ
ั
• จัดเก็บสำเนาข้อมูลไว้ในบรรจุภัณฑ์สื่อบนทึกข้อมูลที่เตรียมมา
• หากจำเป็นต้องถอดฮาร์ดดิสก์แบบเชื่อมต่อภายในออกจาก
คอมพิวเตอร์ต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวัง บันทึกภาพสภาพ
การเชื่อมต่อก่อนการถอด ตรวจดูว่ามีสื่อบันทึกข้อมูลอื่นอยู่ใน
เครื่องหรือเชื่อมต่อที่พอร์ตใด ๆ หรือไม่ เช่น CD, DVD, USB
Flash Drive หากพบให้นำออกจากเครื่องแล้วจดบันทึกไว้กำหนด
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 55