Page 60 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 60
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
็
ิ
์
ิ
ั
6) เคลื่อนย้ายวัตถุพยานด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการกระทบ
กระเทือนหรือการกระแทก ห้ามวางหลักฐานซ้อนกัน และควรหลีกเลี่ยงบริเวณ
ที่มีความชื้นหรือแดดจัด
ขั้นตอนที่ 8 การออกและส่งคืนสถานที่เกิดเหตุ (Release Scene)
เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบและทบทวน ความถูกต้องและความสมบูรณ์
ของขั้นตอนการตรวจสถานที่เกิดเหตุและวัตถุพยานที่ค้นพบการออกและส่งคืน
สถานที่เกิดเหตุแล้ว สถานที่เกิดเหตุที่ควรจะถูกส่งมอบคืน เจ้าหน้าที่ต้องมั่นใจว่า
ดำเนินการตรวจและเก็บวัตถุพยานอย่างถูกต้อง และครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่
ต้องจัดทำบันทึกรายละเอียดของการส่งมอบคืนสถานที่เกิดเหตุ ได้แก่ วันและเวลา
ที่ส่งมอบ เจ้าหน้าที่ผู้รับมอบ เจ้าหน้าที่ผู้มอบ พร้อมลงลายมือชื่อกำกับ ทั้งนี้ การส่งคืน
สถานที่เกิดเหตุนั้น ต้องส่งคืนให้แก่พนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
สิ่งสำคัญที่สุดในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในคดีเกี่ยวกับความผิดพิเศษ
(พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์) คือ การรักษาห่วงโซ่ของพยานหลักฐาน
(Chain of Custody) ทางอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
ที่ดำเนินการตั้งแต่กระบวนการเก็บ บรรจุ จัดส่ง ซึ่งทุกขั้นตอนนี้จะต้องตรวจสอบได้
ตลอดเวลา ว่า ณ เวลานั้น ๆ พยานหลักฐานชิ้นนั้น อยู่ภายใต้ความครอบครองของใคร
ื่
ซึ่งเมื่อมีการรับมอบจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง จะต้องมีการบันทึกรับ - มอบ และลงลายมือชอ
ของผู้รับ และผู้ทรงนั้น ๆ มีการจัดเก็บไว้ในที่ที่เหมาะสม และปลอดภัย จะต้องมีระบบ
ขั้นตอนการกำกับดูแลเพื่อให้มั่นใจว่าพยานหลักฐานยังคงสภาพเดิม เพื่อให้ศาลมั่นใจว่า
วัตถุพยานที่นำมาประกอบพิจารณาคดีนั้น เป็นวัตถุพยานที่เก็บและตรวจได้จากสถานที่
เกิดเหตุจริง และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของวัตถุพยานที่มีผลต่อการช่วยเหลือหรือ
ใส่ร้ายผู้ต้องหา
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 59