Page 62 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 62
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ิ
ั
็
์
ิ
ส่วนที่ 3
ขั้นตอน เทคนิค ในการรวบรวมวัตถุพยานและ
การพิจารณาความน่าเชอถือของวัตถุพยานทางนิติวิทยาศาสตร์
ื่
ในคดีเด็กและเยาวชน
การวิเคราะห์วัตถุพยานสิ่งแรกที่ต้องพิจารณาเมื่อเข้าสถานที่เกิดเหตุ คือ
ทุกสิ่งโดยรอบในสถานที่เกิดเหตุที่คาดว่าจะเป็นวัตถุพยานที่สำคัญในแต่ละคดี
่
ี้
ื่
การพิจารณาวัตถุพยานจะสามารถสะท้อนหรือบงชอัตลักษณ์บุคคลที่จะเชอมโยงผู้กระทำ
ความผิดได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงไม่ควรมองข้ามรายละเอียดเล็กน้อย ซึ่งแต่ละเหตุการณ์
มีความยุ่งยาก ซับซ้อนที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากคดีที่เกิดขึ้นแต่ละคดีมีความแตกต่างกัน
ทั้งด้านการบริหารจัดการ ลักษณะของวัตถุพยาน และสภาพแวดล้อมในสถานที่เกิดเหตุ
ด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องมีเทคนิค ไหวพริบ ประสบการณ์ และความชำนาญ
ในการค้นหาวัตถุพยานเพื่อเชื่อมโยงไปยังผู้กระทำความผิดอย่างมาก
การตรวจสถานที่เกิดเหตุในแต่ละคดี มีขั้นตอนเทคนิคและข้อควรระวัง
ในการค้นหาวัตถุพยาน และการรวบรวมวัตถุพยาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1 คดีเกี่ยวกับยาเสพติด
ิ
1) การวิเคราะห์วัตถุพยานในคดีเกี่ยวกับยาเสพตด
คดียาเสพติดในกรณีที่เป็นผู้ค้ายาเสพติดรายย่อยหรือผู้ค้าที่พัฒนาตนเอง
ขึ้นมาจากผู้เสพ พฤติการณ์คือการค้ายาเสพติดในแต่ละครั้งจะมีจำนวนไม่มาก ส่วนใหญ่
การซื้อขายชำระเป็นเงินสด โดยจะขายให้กับผู้ซื้อที่เป็นผู้เสพโดยตรง การดำเนินคดีจะไม่ค่อย
มีการเข้าสถานที่เกิดเหตุ เนื่องจากคดีที่เกิดขึ้นจะเป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า คือจับกุม
ตัวผู้กระทำผิดได้พร้อมกับของกลาง อาจจะด้วยวิธีการตรวจค้น การล่อซื้อจากสายลับหรือ
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 61