Page 67 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 67
ิ
์
็
ั
ั
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
5) มิติมุมมองของพนักงานอัยการต่อการพิจารณาสำนวนการสอบสวนและ
ความน่าเชื่อถือของวัตถุพยานในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด
การพิจารณาความน่าเชื่อถือของวัตถุพยานในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด
ิ
สิ่งสำคัญก็คือการตรวจพิสูจน์ว่าวัตถุที่เป็นของกลาง เป็นยาเสพตดจริง
โดยจะต้องตรวจความบริสุทธิ์ของสารเสพติด และตรวจยืนยันว่าสิ่งที่
ผู้กระทำผิดเสพคือยาเสพติดประเภทใด เช่น กัญชา เฮโรอีน รวมถึงจำนวน
ปริมาณของยาเสพติดที่ครอบครอง
ในที่ผ่านมาประสบปัญหาการกำหนดค่าทศนิยมของปริมาณยา
ี่
เสพติดทแตกต่างกัน กล่าวคือ ซึ่งการกำหนดค่าทศนิยมที่แตกต่างกัน
ส่งผลต่อการพิจารณาสำนวนและการยื่นฟ้องตอศาล เพราะปริมาณของ
่
ยาเสพติดที่แตกต่างกันย่อมมีผลต่อการตัดสินลงโทษตามกฎหมายว่า
ผู้กระทำผิดครอบครองยาเสพติดไว้สำหรับเสพ หรือครอบครองไว้สำหรับ
จำหน่าย
นอกจากนี้การตรวจพิสูจน์สารเสพติดจะต้องเป็นโรงพยาบาลที่ระบุ
ในตารางที่แนบท้ายพระราชบัญญัติยาเสพติดเท่านั้น ซึ่งถึงแม้ในปัจจุบัน
จะมีโรงพยาบาลจำนวนมากที่มีเครื่องมือในการตรวจพิสูจน์สารเสพติด แต่หาก
ไม่มีรายชื่อระบุแนบท้ายพระราชบัญญัติ ผลการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวก็ไม่
สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อสั่งฟ้องได ้
66 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน