Page 69 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 69
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
ั
ิ
็
ิ
์
2 คดีเกี่ยวกับทรัพย์
1) การวิเคราะห์วัตถุพยานเมื่อเข้าสถานที่เกิดเหตุในคดีเกี่ยวกับทรัพย์
การวิเคราะห์วัตถุพยานเมื่อเข้าสถานที่เกิดเหตุ ในกรณีคดีเกี่ยวกับทรัพย์
หากในลักษณะวิ่งราวทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ชิงทรัพย์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นความผิดซึ่งหน้า
ซึ่งกรณีนี้เจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะจับกุมผู้กระทำความผิดได้ทันที (เมื่อพบการกระทำผิด
ซึ่งหน้า เฉพาะความผิดประเภทที่กฎหมายระบุไว้ คำว่า “ความผิดซึ่งหน้า” ได้แก่
ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำหรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าคนนั้น
ได้ทำความผิดมาแล้วสด ๆ ) แต่หากในลักษณะการลักทรัพย์ในเคหะสถานผู้กระทำผิด
จะอาศัยช่วงจังหวะที่เจ้าของบ้านไม่อยู่บ้านหรือห้างร้าน และงัดเข้าไปรื้อค้นเอาทรัพย์สิน
โดยส่วนใหญ่จะไม่พบตัวผู้กระทำผิด เนื่องจากผู้กระทำผิดเมื่อได้ทรัพย์สินไปแล้วมักจะรีบ
หลบหนีไป ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องขอหมายค้นเข้าตรวจสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งต้องค้นหา
วัตถุพยานที่นำไปสู่การเชื่อมโยงไปสู่ผู้กระทำผิด
อย่างไรก็ตาม ยังมีเด็กและเยาวชนบางคนที่เคยกระทำผิดและกระทำซ้ำอีก
จะรู้ว่าการทิ้งลายพิมพ์นิ้วมือแฝงไว้ที่เกิดเหตุจะทำให้ถูกจับกุมได้ จึงได้มีการใส่ถุงมือ
โดยผู้กระทำผิดเหล่านี้ก็ยังไม่รู้ว่ายังมีวัตถุพยานประเภทอื่นที่สามารถเชื่อมโยงนำไป
ตรวจสอบและจับกุมผู้กระทำผิดได้
2) วัตถุพยานที่สำคัญในคดีเกี่ยวกับทรัพย์
วัตถุพยานที่มีบทบาทสำคัญเพื่อนำมาเชื่อมโยงเหตุการณ์และให้เป็นหลักฐาน
ในคดีเกี่ยวกับทรัพย์ ได้แก่
68 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน