Page 63 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 63
ั
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
็
์
ิ
เจ้าหน้าที่อำพราง สายสืบ พบขณะกระทำความผิดมียาเสพติดไว้ในครอบครอง หรือ
ผู้กระทำผิดกำลังเสพยาเสพติด ซึ่งกรณีนี้เจ้าพนักงานชุดจับกุมมีอำนาจจับได้ โดยไม่ต้อง
มีหมายจับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 (1)
ในสถานที่เกิดเหตุเจ้าพนักงานชุดจับกุมจะเป็นผู้ถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุ
การชี้ของกลาง การชี้จุดรับ - ส่งยาเสพติด หรือการอัดวิดีโอบันทึกเหตุการณ์
ตั้งแต่การจับกุมจนถึงการส่งตัวไปหาพนักงานสอบสวน โดยบันทึกการจับกุมแล้วแจ้ง
ผู้ปกครอง ญาติ ให้ทราบถึงการจับกุมเยาวชน และมอบของกลางให้กบพนักงานสอบสวน
ั
เมื่อได้ของกลางแล้วเจ้าหน้าที่จะนำยาเสพติดไปตรวจ เพื่อพิสูจน์วัตถุของกลางเป็น
ยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยพิสูจน์ชนิด
น้ำหนักเฉพาะวัตถุของกลาง และคำนวณสารบริสุทธิ์ ในกรณีที่มีการจับกุมยาเสพติด
ปริมาณจำนวนมาก ต้องมีการตรวจสภาพ ร่องรอยนิ้วมือแฝง DNA ของผู้อื่นที่ติดอยู่
บนของกลาง เพื่อจะขยายผลไปถึงเครือข่ายหรือผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ ซึ่งมีลักษณะ
เป็นกระบวนการ มีนายทุนเป็นผู้บงการ มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในองค์กร
อย่างเด็ดขาดตามบทบาทหน้าที่ของตน
การวิเคราะห์วัตถุพยานในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด จะต้องพิจารณาโดยเริ่ม
จากการประเมินวัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุ วิเคราะห์ว่าวัตถุพยานใดมีคุณค่าที่บ่งช้หรือ
ี
แสดงถึงความผิดที่เกิดขึ้น พฤติการณ์ในการกระทำความผิด และสามารถสะท้อนหรือบ่งช ี้
อัตลักษณ์บุคคลที่จะเชื่อมโยงผู้กระทำความผิด ซึ่งบางครั้งต้องใช้เป็นหลักฐานสำคัญเพื่อบ่งช ี้
การเกิดเหตุการณ์
2) วัตถุพยานที่สำคัญในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด
้
วัตถุพยานที่มีบทบาทสำคัญเพื่อนำมาเชื่อมโยงเหตุการณ์และใชเป็น
หลักฐานในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด ได้แก่
(1) ของกลางยาเสพติดซึ่งมีไว้เป็นความผิด
(2) ของกลางธนบัตรที่ได้มาจากการกระทำผิดโดยการจำหน่าย
ยาเสพติด
62 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน