Page 85 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 85
ิ
์
็
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
ั
5) มิติมุมมองของพนักงานอัยการต่อการพิจารณาสำนวนการสอบสวนและ
ความน่าเชื่อถือของวัตถุพยานในคดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
การตรวจพิสูจน์ในคดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายพยานหลักฐานสำคัญก็คือ
ผลการตรวจบาดแผลและร่างกายของผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดว่าลักษณะบาดแผล
เป็นเช่นใด และด้วยลักษณะบาดแผลดังกล่าวจะต้องใช้เวลาในการรักษานานมากน้อย
เพียงใด เช่น หากผลการตรวจจากแพทย์พบว่าจะต้องรักษาเกิน 20 วัน ในกรณีดังกล่าว
นับว่าบาดเจ็บสาหัส รวมถึงจะต้องพิจารณาว่าบาดแผลดังกล่าวถึงขั้นทุพพลภาพ
หรือไม่ร่วมด้วย ซึ่งความร้ายแรงของบาดแผลต่าง ๆ จะมีผลต่อการพิจารณาสำนวน
เพื่อสั่งฟ้องต่อไป
6) มิติมุมมองของผู้พิพากษาต่อการพิจารณาความน่าเชื่อถือของวัตถุพยาน
ในคดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
คดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย วัตถุพยานที่สำคัญในการสืบค้นผู้กระทำความผิด
มีดังนี้
1) อาวุธที่ใช้ในการกระทำความผิด เช่น อาวุธปืน อาวุธมีด ในกรณีของอาวุธ
ปืนเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องมีการตรวจหาคราบเขม่าปืนที่มือของเด็กและเยาวชน
หากมีคราบเขม่าปืน ก็จะนำผลการตรวจมาใช้ประกอบในสำนวนคดี เพื่อประกอบ
การพิจารณา
2) ภาพจากกล้องวงจรปิด เป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ประกอบการพิจารณาคดี
เนื่องจากภาพกล้องวงจรปิดจะเห็นรูปพรรณสัณฐานของกระทำความผิดที่ค่อนขางชดเจน
ั
้
ทั้งลักษณะใบหน้า รูปร่าง เสื้อผ้า บางกรณีจะเห็นถึงตำหนิต่าง ๆ บนร่างกาย เช่น รอยสัก
รอยแผลเป็น ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงและสืบค้นหาผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีได้ง่าย
3) อาวุธที่ใช้ในการกระทำความผิด ตัวอย่างเช่น อาวุธมีด อาวุธปืน
ซึ่งส่วนใหญ่เด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดจะนำอาวุธที่ก่อเหตุไปทิ้งในบริเวณ
พื้นที่อื่น ๆ เช่น ในพงหญ้า แม่น้ำ เพื่อปิดบังอำพรางอาวุธที่ใช้ในการกระทำความผิด
84 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน