Page 87 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 87
ั
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
็
์
ิ
กรณีคดีล่วงละเมิดทางเพศ
1) กรณีผู้เสียหาย พนักงานสอบสวนมักจะตั้งประเด็นคำถาม ดังน ี้
(1) ผู้เสียหายเคยพูดคุยแบบออนไลน์ผ่านช่องทางการสนทนาใดบ้าง
(2) มีการใช้รหัส และอีเมลอะไร
(3) ใช้อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ และเคยพูดคุยจากเครื่องใดบ้าง
และที่ไหน
(4) มีการบันทึกการสนทนาหรือไม่ อย่างไร
(5) ข้อความหรือรูปภาพที่ระบุได้ว่าเป็นการพยายาม หรือเป็น
การล่วงละเมิดทางเพศ
2) กรณีผู้ต้องสงสัย พนักงานสอบสวนมักจะตั้งประเด็นคำถาม ดังน ี้
(1) เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ของผู้ต้องสงสัยอยู่ที่ใดบ้าง
(2) มีแหล่งเก็บข้อมูลออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงหรือไม่ อย่างไร
(3) ผู้ต้องสงสัยใช้รหัสอะไร การติดต่อด้วยวิธีใด และติดต่อกับใครบ้าง
(4) ผู้ต้องสงสัยเคยเผยแพร่ หรือดูรูปภาพลามกหรือไม่ เก็บและ
ส่งไปให้ใคร
พยานหลักฐานหรือของกลางแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งละเอียดอ่อน เปลี่ยนรูป
หรือเสียหายได้ง่าย ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการทำ
เอกสารลงบันทึก การเก็บรวบรวม การสงวน และการตรวจวิเคราะห์พยานหลักฐานหรือ
ของกลางประเภทนี้ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อที่จะสามารถดำเนินการคัดสำเนา หรือข้อมูลที่ตรงเดิมทุกประการ และสามารถยืนยัน
ในความถูกต้องได้ว่า ข้อมูลที่อยู่ภายในอุปกรณ์นั้นจะยังคงสภาพเดิม ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ในภายหลัง และถึงแม้ว่าจะไม่มีเจตนาในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลภายในวัตถุพยาน
ทางอิเล็กทรอนิกส์เพราะหากไม่สามารถทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้ ก็ไม่สามารถรับฟัง
เป็นพยานหลักฐานได้
86 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน