Page 91 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 91
ิ
ั
็
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
์
ั
5) มิติมุมมองของพนักงานอัยการต่อการพิจารณาสำนวนการสอบสวนและ
ความน่าเชื่อถือของวัตถุพยานในคดีเกี่ยวกับความผิดพิเศษ (พ.ร.บ.ว่าด้วย
การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์)
การตรวจพิสูจน์ในคดีเกี่ยวกับฐานความผิดพิเศษ (พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิด
ทางคอมพิวเตอร์) จะพิจารณาจากหลักฐาน เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่กระทำความผิด รวมถึงหลักฐานจากการสนทนาผ่านสื่อออนไลน์ ตัวอย่างเช่น แชทในไลน์
หรือโพสต์ในเฟคบุ๊ค เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันสามารถหาข้อมูลเชื่อมโยงถึงผู้กระทำความผิด
ได้ง่าย
6) มิติมุมมองของผู้พิพากษาต่อการพิจารณาความน่าเชื่อถือของวัตถุพยาน
ในคดีเกี่ยวกับความผิดพิเศษ (พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร)
์
การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนในคดีที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วย
การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่เด็ก
และเยาวชนซึ่งเป็นคนรักกันถ่ายรูป หรืออัดคลิปวิดีโอในลักษณะเข้าข่ายภาพอนาจารแล้ว
นำไปเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น เด็กผู้ชายถ่ายรูปหรืออัดคลิปวิดีโอส่วนตัวคู่กับแฟน
เช่น คลิปการมีเพศสัมพันธ์ แล้วนำไปโพสต์หรือแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์ เป็นเหตุทำให้
เด็กผู้หญิงได้รับความเสียหาย ซึ่งบุคคลที่จะมาดำเนินการฟ้องร้องส่วนใหญ่
จะเป็นผู้ปกครองของฝ่ายเด็กผู้หญิง เนื่องจากภาพหรือคลิปวิดีโอในลักษณะดังกล่าว
ทำให้บุตรหลานเสียชื่อเสียง
90 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน