Page 93 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 93
์
็
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
ั
ิ
เทคนิคในการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชนเพื่อให้ได้ความจริงและเป็นประโยชน์
ต่อรูปคดี และหลีกเลี่ยงผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจของเด็กและเยาวชน แบ่งออกเป็น
2 กรณี ได้แก่
1) กรณีเด็กหรือเยาวชนเป็นผู้กระทำผิด
2) กรณีเด็กหรือเยาวชนเป็นผู้เสียหาย และพยาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เทคนิคในการสอบถามปากคำ “กรณีเด็กหรือเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิด”
เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี
วิธีการดำเนินการซักถามปากคำหรือการสอบสวนเด็กและเยาวชนซึ่งต้องหาว่า
กระทำความผิดมีวิธีการที่ละเอียดอ่อนยิ่งไปกว่าการสอบสวนหรือซักถามปากคำผู้เสียหาย
หรือพยาน เนื่องจากปกติแล้วผู้เสียหายหรือพยานจะเป็นผู้ที่ให้ความร่วมมือและให้ถ้อยคำ
แก่ผู้สอบสวนอยู่แล้ว การซักถามของผู้สอบสวนเป็นเพียงการซักถามข้อเท็จจริงให้เข้า
ประเด็นแห่งความเป็นจริงเท่านั้น แต่การสอบสวนผู้ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดนั้นโดยปกติ
ย่อมไม่ให้ความร่วมมืออยู่แล้วจนกว่าผู้สอบสวนจะใช้ศิลปะอันชาญฉลาดจนสามารถทำให้ผู้
ต้องว่ากระทำผิดเปิดเผยความจริงได้ ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีวิธีการดำเนินการซักถามปากคำ
และเทคนิคในการสอบสวนดังนี้
1) ขั้นการเตรียมการ
(1) การเตรียมข้อเท็จจริง
ก่อนดำเนินการสอบสวนซักถามปากคำเด็กและเยาวชนซึ่งต้องหาว่า
กระทำผิด เจ้าหน้าที่จำต้องมีการเตรียมข้อเท็จจริงไว้ก่อนเพื่อเป็นข้อมูลในการซักถาม
เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์คดี การรวบรวมพยานหลักฐานที่ได้ในสถานที่เกิดเหตุ
การสืบสวน มูลเหตุจูงใจและสมมติฐานด้านสาเหตุการกระทำผิด ข้อมูลด้านเครือข่าย
ความสัมพันธ์ เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องรู้ข้อมูลภูมิหลังเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้ต้องหา
โดยอาจตรวจสอบได้จากบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนรถ เครือญาติ
เพื่อนฝูง หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ข้อแนะนำทั่วไปที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อให้เด็ก
92 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน