Page 98 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 98
์
็
ั
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ิ
2) ขั้นเริ่มต้นก่อนการสอบถามปากคำ
(1) การสอบถามเด็กและเยาวชนในเบื้องต้น
เมื่อพนักงานสอบสวนได้รับตัวเด็กและเยาวชนซึ่งถูกจับ หรือต้องหาว่า
กระทำผิดถูกเรียกมา ส่งตัวมา เข้าหาพนักงานสอบสวนเอง มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้า
หรือมีผู้นำตัวเด็กและเยาวชนนั้นเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวน
สอบถามเด็กและเยาวชนในเบื้องต้นเพื่อทราบ ชื่อ-สกุล อายุ สัญชาติ ที่อยู่ และ
รายละเอียดเกี่ยวกับบิดามารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การ ซึ่งเด็กหรือเยาวชน
อาศัยอยู่ด้วย แจ้งเรื่องที่เด็กถูกกล่าวหาให้บุคคลดังกล่าวทราบ และแจ้งให้ผู้อำนวยการ
สถานพินิจทราบการสอบถามเบื้องต้น
(2) การสร้างสัมพันธภาพ
ก่อนดำเนินการสอบสวนเด็กและเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิด
เจ้าหน้าที่จะต้องอาศัยประสบการณ์ส่วนตัว โดยการสร้างสัมพันธภาพกับเด็กและเยาวชน
ก่อน ใช้เทคนิคและวิธีการสร้างความคุ้นเคย ความสนิทสนม เป็นกันเอง แสดงออกถึง
ความเป็นมิตร ใช้สรรพนามอื่นแทนเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น เช่น พี่ น้า ลุง
ป้า เป็นต้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนเกิดความคุ้นเคย รู้สึกเป็นกันเอง ไว้วางใจ
รู้สึกผ่อนคลาย และลดความวิตกกังวล กำหนดระดับน้ำเสียง สำเนียงภาษาที่ใช้ใน
การซักถาม เริ่มจากคำถามที่ไม่ใช่การข่มขู่ก่อน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกล่าวถึงเทคนิค
ในการสร้างความคุ้นเคยให้กับเด็กและเยาวชน
ภายหลังจากการสอบถามเบื้องต้น ให้เจ้าหน้าที่นำข้อมูลที่ได้ไป
ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้มาจากการเตรียมการ
เพื่อเป็นข้อมูลในการซักถาม หากตรวจสอบพบว่าข้อมูลเบื้องต้นผู้ต้องหาว่ากระทำผิด
กล่าวเท็จให้เจ้าพนักงานพึงระลึกว่าผู้ต้องหามีแนวโน้มพูดเท็จ และจะเป็นข้อสังเกตในการ
จับพิรุธ เพื่อการวางแผนการตั้งประเด็นคำถาม
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 97