Page 102 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 102
ั
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
็
์
ิ
(5) การหาเหตุผลให้รับสารภาพ
การหาเหตุผลให้รับสารภาพสามารถกระทำได้หลายลักษณะ
เช่น การแสดงพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่ระบุได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำผิด และแสดงว่า
การปฏิเสธเป็นเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์ หรืออาจพูดในลักษณะของการเสนอทางเลือก
ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ตัวเลือกที่ผู้ต้องหายอมรับได้และยอมรับไม่ได้ โดยชี้แจงข้อแตกต่าง
ข้อดี ข้อเสีย และให้เหตุผล ในการรับสารภาพหรือไม่รับสารภาพ
(6) การแสดงความเห็นอกเห็นใจ
การแสดงความความเห็นอกเห็นใจหรือเทคนิคเข้าข้างผู้ต้องหา
เป็นวิธีการหนึ่งที่ได้เรื่องราวจากผู้ต้องหา ทำให้ผู้ต้องหารู้ถึงเจตนาที่ดีของผู้สอบสวน
โดยเฉพาะผู้ต้องหาที่กระทำความผิดเป็นครั้งแรก กระทำผิดเนื่องจากบันดาลโทสะและ
่
กระทำผิดเนื่องจากความเจ็บแค้น เป็นประเภทที่จะต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจ เชน
“เป็นใครที่ตกอยู่ในสถานการณ์อย่างน้องก็ต้องทำเช่นนี้” “มันเป็นเรื่องปกติที่คนเราต้อง
เอาตัวรอด” เป็นต้น หรือการโทษบุคคลอื่นให้เป็นผู้ผิด เช่น “เพราะเขาทำร้ายหนูก่อน”
เป็นต้น เพราะบางกรณีกระทำความผิดเกิดขึ้นโดยมิได้ไตร่ตรองหรือตั้งใจ แต่สาเหตุที่เด็ก
เข้ามาสู่วงจรการกระทำความผิด อาจเป็นเพราะเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ถูกกลุ่ม
เพื่อนชักชวนไปในทางที่ไม่ดี ตลอดจนไม่มีผู้ปกครองอบรมดูแล และชี้แนะแนวทาง
การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ดังนั้นในการลงโทษในคดีเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน จึงต้องมุ่งเน้น
ในการแก้ไขพฤติกรรมในรูปแบบบำบัดฟื้นฟู โดยการให้เด็กและเยาวชนเข้าสู่ศูนย์ฝึกและ
อบรมเป็นหลัก
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 101