Page 104 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 104

็
           โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
                ิ
                                                 ิ
                              ั
                                                       ์
                         6) การบิดเบือนรูปคดีและซักซ้อมพยานจากผู้ปกครอง บางกรณี
           คดีเกี่ยวกับเพศที่เด็กมีการสมยอมกัน แต่ผู้ปกครองทั้ง 2 ฝ่าย อาจไม่ยินยอมจึงเกิดข้อ
           พิพาทกัน ผู้เสียหายมักจะได้รับการบอกกล่าวจากผู้ปกครองว่าจะต้องให้การกับ

           เจ้าหน้าที่ตามที่ผู้ปกครองบอกกล่าวมา สุดท้ายเมื่อทำการสอบสวนก็จะมีเรื่องของความ
           ต้องการเพียงเงินค่าเสียหายเข้ามาเกี่ยวข้อง
                         7) การวาดภาพ หรือการใช้ตุ๊กตาจำลองเหตุการณ์ กรณีของการที่

           ให้เด็กให้ปากคำ โดยใช้วิธีการวาดภาพ หรือใช้ตุ๊กตาจำลองเหตุการณ์แทนการเล่าเรื่อง
           ส่วนใหญ่จะเป็นคดีเกี่ยวกับเพศ หรือคดีสะเทือนใจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนสอบสวนและ
           นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ต้องตั้งข้อคำถาม เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่เป็น

           ผู้เสียหายหรือพยาน เล่ารายละเอียดข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบสำนวนคดี ซึ่งเด็ก
           ผู้เสียหายบางกลุ่มมีอายุน้อยมากและไม่สามารถอธิบายหรือให้ข้อมูลอย่างสมบูรณ์ที่สุด
           การวาดภาพหรือการใช้ตุ๊กตาจำลองเหตุการณ์ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่เจ้าหน้าที่

           หลายภาคส่วนนำมาใชเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างเด็กและเจ้าหน้าที่ เพื่อเก็บข้อมูล
                            ้
           จากผู้เสียหายหรือพยานมาใช้ประกอบรูปคดี และเพื่อให้นักจิตวิทยาได้ถอดรหัสไปถึง
           ปมในจิตใจของเหยื่อและเตรียมการเยียวยาต่อไป
                      ทั้งนี้ นอกจากการให้ข้อมูลสำคัญของเจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนแล้วนั้น

           คณะผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากมุมมองพนักงานอัยการ และผู้พิพากษา ในมิติของ
           การพิจารณาชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือและให้ความสำคัญในกรณีที่เด็กให้ปากคำ
           โดยวิธีใช้การวาดภาพ หรือการใช้ตุ๊กตาจำลองเหตุการณ์ แทนการเล่าเรื่อง ดังนี้

                      (1) มุมมองของพนักงานอัยการ
                         จากประสบการณ์ทำงานพบกรณีของการสอบสวนเด็ก โดยใช   ้
           การวาดภาพ และใช้ตุ๊กตาจำลองเหตุการณ์ในคดีเกี่ยวกับคดีจราจร ทั้งนี้เนื่องจากคดี
           ดังกล่าวเป็นคดีที่เกิดอุบัติเหตุ และมีเด็กผู้หญิงอายุเพียง 3 ปี คนเดียวที่รอดชีวิตจาก

                                                           ี
           อุบัติเหตุดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องให้เด็กบอกเล่าเหตุการณ์ด้วยวิธการทำตุ๊กตาจำลอง
           แทนการเล่าเรื่องตามปกติ เนื่องจากด้วยวัยวุฒิของเด็กยังไม่มากเพียงพอที่จะสามารถ
           บอกเล่าลำดับเหตุการณ์ได้เหมือนผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการใช้อุปกรณ์



                       คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน   103
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109