Page 105 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 105
็
์
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ิ
ั
ั
ิ
ช่วยเสริมในการถ่ายทอดเรื่องราว ตัวอย่างเช่น การให้วาดรูป หรือการใช้ตุ๊กตาจำลอง
เหตุการณ์ ซึ่งกรณีการบอกเล่าของเด็กส่วนใหญ่จะสามารถเชื่อถือได้ เนื่องจากเด็ก
เปรียบเสมือนผ้าขาวที่ยังไม่มีการแต่งเติมเฉกเช่นผู้ใหญ่
(2) มุมมองของผู้พิพากษา
กรณีของการที่ให้เด็กให้ปากคำ โดยใช้วิธีการวาดภาพ หรือใช้ตุ๊กตา
จำลองเหตุการณ์แทนการเล่าเรื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นในคดีเกี่ยวกับเพศ ซึ่งจะใช้กับกลุ่ม
เด็กที่มีอายุน้อยมาก เช่น เด็กผู้ชายอายุ 12 ปี กระทำอนาจารเด็กผู้หญิงอายุ 3 ปี
โดยพฤติกรรมดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมเลียนแบบจากสื่อลามกอนาจาร
ตามสื่อออนไลน์ ซึ่งเด็กชายอายุ 12 ปี ได้ชวนน้องเด็กผู้หญิงที่เป็นเพื่อนบ้านอายุ 3 ขวบ
มาเล่นกันที่บ้านในช่วงที่ไม่มีผู้ปกครองอยู่ในบ้าน ลักษณะการเล่น คือ เล่นเป็น
พ่อ แม่ ลูก แต่ได้มีการถอดเสื้อและกอดจูบ เหมือนกับในสื่อลามก ซึ่งในช่วงของ
การสอบสวนเด็กที่มีอายุน้อยมาก ๆ จำเป็นจะต้องมีกลุ่มนักจิตวิทยาและนักสังคม
สงเคราะห์มาร่วมในการสอบสวนด้วย เพื่อให้เด็กบอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ จากประสบการณ์การทำงานมาส่วนใหญ่คำให้การของเด็กจะเป็น
ความจริง จะไม่มีการโกหก บิดเบือนเหมือนดังเช่นกรณีของผู้ใหญ่
104 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน