Page 103 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 103
็
์
ั
ิ
ั
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
เทคนิคใน “การสอบถามปากคำเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้เสียหาย และ
การสอบถามปากคำพยาน” เพื่อให้ได้ความจริงอย่างเป็นธรรมและเป็นประโยชน์
ต่อรูปคด ี
วิธีการดำเนินการสอบถามปากคำหรือการสอบสวนเด็กและเยาวชน
ที่เป็นผู้เสียหาย หรือพยาน มีขั้นตอนการเตรียมการและขั้นเริ่มต้นก่อนซักถามเช่นเดียวกับ
การปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้กระทำผิดในข้างต้นที่กล่าวมา คณะผู้วิจัยสามารถ
สรุปประเด็นเกี่ยวกับเทคนิคการถามปากคำผู้เสียหายหรือพยาน นับตั้งแต่ขั้นตอน
การเริ่มซักถาม โดยสรุปผลการศึกษาดังน ี้
1) ควรรีบสอบถามโดยเร็วที่สุด เพราะพยานสามารถจำเหตุการณ์
่
ได้ดี ความรู้สึกนึกคิดที่จะบิดเบือนรูปคดีและซักซ้อมพยานกันงาย
2) การเตรียมการล่วงหน้า ก่อนการถามปากคำผู้เสียหายหรือพยาน
เจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนควรเตรียมข้อเท็จจริงที่หาไว้ได้แล้วให้พร้อม และเตรียมประเด็นข้อซักถาม
่
ให้เรียบร้อย โดยพิจารณาว่าพยานปากใดรู้เห็นเหตุการณ์ชวงใด และควรจะได้ข้อเท็จจริง
จากพยานตอนใด มิฉะนั้นอาจพลาดในประเด็นสำคัญ
3) คุมพยานให้การในประเด็น ผู้เสียหายหรือพยานอาจจะให้การนอก
เรื่องราว ดังนั้น เจ้าหน้าที่ผู้ซักถามจะต้องคอยตั้งประเด็นให้ผู้เสียหายหรือพยานกลับเข้าสู่
ข้อเท็จจริง
4) ควรตั้งปัญหาให้ตอบที่ละข้อ ถ้าป้อนคำถามซ้อนขึ้นมาหลาย ๆ ข้อ
พร้อมกันจะทำให้พยานเกิดความสับสน
5) การใช้ความระมัดระวังในการสอบถามผู้เสียหายโดยเฉพาะคด ี
เกี่ยวกับเพศ เจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนจะเลือกใช้คำที่ไม่กระทบกระเทือนจิตใจเด็ก
และให้เด็กเล่าเรื่องราวเพียงคร่าว ๆ ไม่ต้องลงลึกรายละเอียด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบ
ที่มีต่อความรู้สึกของเด็กและเยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อในคดีทางเพศ เพราะการที่เด็ก
จะต้องมาเล่าเหตุการณ์เดิมเหมือนกับเป็นการตอกย้ำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
102 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน