Page 107 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 107
์
ิ
็
ั
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
่
1. ประสบการณ์จากการเรียนรู้ผานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
(1) กรณีศึกษาคดีเกี่ยวกับยาเสพติด
พนักงานตำรวจชุดจับกุมได้รับแจ้งจากสายลับว่ามีนายเบียร์ (นามสมมติ) ลักลอบ
จำหน่ายยาบ้าในราคาเม็ดละ 130 บาท ที่บริเวณในซอยบางกระตี 3 เขตบางขุนเทียน
จึงได้วางแผนจับกุมโดยให้สายลับติดต่อสั่งซื้อยาบ้าทางเฟซบุ๊ก จากนายเบียร์
จำนวน 10 เม็ดในราคา 1,300 บาท โดยให้มาส่งที่บริเวณหน้าร้านค้าแห่งหนึ่ง
ปากซอยบางกระดี่ 3 เจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมพร้อมด้วยสายลับได้ไปดักซุ่มใกล้บริเวณ
ดังกล่าว ต่อมาได้มีชายไทยขับขี่รถจักรยานยนต์ มาจอดที่บริเวณนัดหมายมีรูปพรรณ
ตามที่สายลับแจ้งไว้ เมื่อสายลับเห็นจำได้ว่าเป็นนายเบียร์ (นามสมมติ) ซึ่งเป็นผู้จำหน่าย
ยาบ้าให้และนัดให้นำยาบ้ามาส่งให้ที่บริเวณดังกล่าว จึงชี้ยืนยันให้เจ้าพนักงานตำรวจ
ทราบ เจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุม จึงได้เข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสอบถาม
ทราบชื่อและขอทำการตรวจค้น ก่อนทำการตรวจค้นได้แสดงความบริสุทธิ์ให้นายเบียร์ดู
จนเป็นที่พอใจแล้วจึงตรวจค้นและนายเบียร์ยินยอมให้ทำการตรวจค้นแต่โดยดี
ผลการตรวจค้นปรากฏว่าพบยาบ้าห่อหุ้มด้วยกระดาษชำระซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋ากางเกง
ขาสั้น ด้านข้างซ้ายมือตัวที่นายเบียร์สวมใส่อยู่และพบโทรศัพท์มือถืออยู่ในมือข้างขวา
ของนายเบียร์ ถืออยู่จึงยึดไว้เป็นของกลาง และสอบถามนายเบียร์ ยอมรับว่ายาบ้าของ
กลางดังกล่าวมีไว้เพื่อจำหน่ายและจะนำมาส่งให้กับลูกค้าที่สั่งไว้จำนวน 10 เม็ด
ในราคา 1,300 บาท จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาให้นายเบียร์ ทราบว่า “มียาเสพติดให้โทษ
ประเภท 1 (ยาบ้าหรือเมทแอม-เฟตามีน) ไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายาม
จำหน่ายโดยผิดกฎหมาย" เมื่อแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบแล้วจึงนำตัว
ผู้ต้องหาพร้อมของกลาง นำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป
106 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน