Page 99 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 99
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
ิ
ิ
์
็
ั
3) ขั้นการซักถาม
การซักถามเป็นขั้นตอนการถามปากคำอย่างเป็นทางการในขั้นตอนการ
สอบสวนเพื่อบันทึกถ้อยคำของเด็กเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดเข้าสู่สำนวน
การสอบสวน การบันทึกการสอบสวนจะเริ่มกระทำเมื่อเด็กและเยาวชนมีความพร้อม
เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการแจ้งสิทธิให้เด็กหรือเยาวชนทราบตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 วิธีการดำเนินการถามปากคำบุคคลดังกล่าว
ควรดำเนินการ ดังนี้
(1) ท่าทีของผู้ซักถาม
ผู้สอบสวนควรแสดงท่าทีให้ปรากฏแก่ผู้ต้องหาว่า เจ้าหน้าที่ต้องการ
สอบสวนเพื่อค้นหาความจริงเท่านั้น มิได้มุ่งหวังต่อคำรับสารภาพผิดของผู้ต้องหาเป็นใหญ่
ผู้ซักถามจะต้องอยู่กับที่ไม่เดินวนไปมาในห้อง ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ต้องหาสนใจ และไม่ควรแสดง
กริยาอาการรู้สึกดูหมิ่นดูแคลนผู้ต้องหาที่กระทำผิดอาญา เพื่อให้ผู้ต้องหาเกิดความสบาย
ใจและพร้อมจะเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับคดีนั้นต่อผู้ซักถาม
(2) หลีกเลี่ยงคำพูดบางอย่าง
การใช้คำพูดบางอย่างซึ่งอาจเป็นคำพูดที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของ
ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กและเยาวชน เจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนจึงต้องมีเทคนิคในการหลีกเลี่ยง
ไม่ใช้คำพูดที่ก่อความหวาดหวั่นต่อผู้ต้องหา เช่น
ฆ่าคนตาย ✓ ยิง หรือ แทง
ขโมย ✓ เอาไปไหม
รับสารภาพ ✓ บอกความจริง
กำลังพูดเท็จ ✓ ยังไม่ให้ความจริง
98 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน