Page 94 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 94
์
ิ
็
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
และเยาวชนเกิดความรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ทราบรายละเอียดกับคดีซึ่งจะทำให้เด็กและเยาวชน
ไม่กล้ากล่าวเท็จ
(2) การจัดเตรียมสถานที่และการบันทึกภาพ
การจัดสถานที่ในการสอบสวนซักถามปากคำเด็กและเยาวชน
ควรเป็นสถานที่ที่เหมาะสมและมีห้องเฉพาะสำหรับการสอบสวนเด็กและเยาวชน ซึ่งอาจ
มีเครื่องบันทึกภาพ บันทึกเสียง หรือกระจกมองเห็นด้านเดียว ซึ่งภายใต้บังคับแห่งมาตรา
139 การถามปากคำเด็กตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพและ
เสียงการถามปากคำและสามารถนำออกมาถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันเหตุกรณีเด็กและเยาวชนลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือไม่สามารถติดตาม
นำเด็กและเยาวชนมาเบิกความได้ในชั้นศาล ซึ่งศาลอาจรับฟังบันทึกภาพและเสียงดังกล่าว
เหมือนการเบิกความในชั้นพิจารณา และกรณีที่ศาลเห็นสมควรหรือเด็กหรือคู่ความฝ่าย
หนึ่งฝ่ายใดร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควร ศาลอาจสั่งให้เปิดบันทึกภาพและเสียงดังกล่าว
แทนการเบิกความในชั้นศาลของเด็ก แล้วให้คู่ความถามค้านหรือถามติงเอาอย่างเดียวก็ได้
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เด็กต้องเบิกความถึงเรื่องอันทำร้ายจิตใจของเด็กอีกเป็นซ้ำสอง
(ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 ตรี) ตลอดจนเพื่อความสะดวกต่อ
การทำงานของพนักงานสอบสวนในการรวบรวมและการวิเคราะห์พยานหลักฐาน
ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับห้องที่ใช้ในการสอบสวนเด็กและเยาวชน
ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญกล่าวถึงปัญหาของห้องสอบสวนประจำสถานีตำรวจ ซึ่งพบว่า
บางสถานีตำรวจไม่ได้ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะในสร้างห้องสอบสวนเด็กและเยาวชน
ทำให้เกิดปัญหาในการขยายพื้นที่ เนื่องจากสถานีตำรวจบางแห่งไม่มีพื้นที่ในการขยาย
โครงสร้างพื้นที่สำหรับสร้างห้องสอบสวนเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะ ซึ่งอาจทำให้การจัด
สถานที่ในการสอบสวนเด็กและเยาวชนไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกรณีนี้
พนักงานสอบสวนจะส่งเด็กและเยาวชนไปสอบสวนที่สำนักงานอัยการ หรือสถานีตำรวจ
ใกล้เคียงที่มีห้องสอบสวนสำหรับเด็กและเยาวชน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่เสนอแนะ
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 93