Page 100 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 100
ิ
์
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ั
ิ
็
(3) การตั้งประเด็นคำถาม
เจ้าหน้าที่ควรใช้คำถามด้วยภาษาพูดที่เหมาะสม ถามตามคำถามที่กำหนด
ไว้ในการสอบสวน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาเล่าเรื่อง บางครั้งผู้ต้องหาอาจจะพูดนอกเรื่อง
แต่ในเรื่องราวที่เล่าอาจมีพื้นฐานของความจริงอยู่บ้าง ดังนั้น เจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนต้อง
รับฟังการพูดนอกเรื่องของผู้ต้องหา แต่จะต้องไม่ยอมรับการปฏิเสธของผู้ต้องหา จากนั้น
ดึงผู้ต้องหากลับเข้ามากับข้อเท็จจริงในการกระทำผิด โดยถามคำถามอย่างตรงไปตรงมา
และตรงประเด็น
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมในระหว่างการสอบสวน
กรณีที่มีการสอบสวนเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายหรือผู้กระทำผิด
พนักงานสอบสวนจะต้องใช้วิจารณญาณของตนในการประเมินการถามปากคำว่า คำถามใด
ที่จะต้องใช้วิธีการตั้งคำถามผ่านนักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยาหรือจะเป็นผู้สอบปากคำ
เด็กด้วยตนเอง เพราะจะต้องคำนึงถึงคำถามที่จะกระทบต่อจิตใจเด็ก โดยต้องแจ้งให้
นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ทราบก่อน ในกรณีนี้หากนักจิตวิทยาหรือนักสังคม
สงเคราะห์เห็นว่าการถามปากคำเด็กคนใดหรือคำถามใด อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อ
จิตใจเด็กอย่างรุนแรง พนักงานสอบสวนจะต้องซักถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคม
สงเคราะห์เป็นการเฉพาะ โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวนและห้ามมิให้ถาม
เด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(4) การสังเกตพฤติกรรม
คำให้การที่ได้จากเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่นั้นจะ
ขึ้นอยู่กับอายุ พัฒนาการตามวัย สภาวะทางร่ายกาย จิตใจ สติปัญญา ประสบการณ์ของเด็ก
และเยาวชน ซึ่งหากเป็นเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำผิดซ้ำ พนักงานสอบสวน
ควรตั้งข้อสังเกตทั้งในส่วนของพฤติกรรมและคำให้การ ทั้งนี้ เนื่องจากเด็กและเยาวชน
เคยมีประสบการณ์ในการกระทำผิด จึงทำให้คำให้การของเด็กและเยาวชนอาจจะไม่มี
ความน่าเชื่อถือเท่าที่ควร ซึ่งเทคนิคในการพิจารณาว่าคำให้การของเด็กและเยาวชนนั้น
มีความน่าเชื่อถือเพียงใด จะพิจารณาหรือสังเกตพฤติกรรมที่ผ่านการแสดงออกที่ผิดธรรมชาติ
เช่น การพูดติดขัด หรือซ้ำไปซ้ำมากับคำเดิม การขยับหัวไปมา การหายใจถี่และแรงขึ้น เป็นต้น
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 99