Page 13 - เอกสารประกอบการเรียน หน่วยที่ 1
P. 13

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับคุณภาพชีวิต



















                       ภาพที่ 1.4  นาโนเทคโนโลยี

                       ที่มา : https://sites.google.com/site/malineethongpanyou/nano-thekhnoloyi

                                      แนวทางหลักของการสังเคราะห์หรือการสร้างโครงสร้างนาโน  ก็คือ  การสังเคราะห์

                       โครงสร้างเพื่อให้ได้โครงสร้างที่มีเกรนหรืออนุภาคที่มีขนาดอยู่ในช่วงระหว่าง 1 – 100 นาโนเมตร
                       ดังแสดงไว้ตามภาพที่ 1.4  จึงจะนับได้ว่าเป็นโครงสร้างระดับนาโน  โดยในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยี

                       ที่มีอยู่อย่างหลากหลายวิธีการ หลากหลายเครื่องมือและอุปกรณ์ที่น ามาใช้ ซึ่งเครื่องมือหรือวิธีการ

                       ที่ถูกน ามาใช้งานส าหรับการสร้างโครงสร้างระดับนาโนนั้น  สามารถพิจารณาแบ่งเป็นกลุ่มตาม

                       แนวทางการการผลิตโครงสร้างนาโนได้เป็น 2 ประเภท  ได้แก่  กลุ่มวิธีการที่เรียกว่า นาโนลิโทกราฟี
                       (nanolithography)  ซึ่งเป็นกลุ่มวิธีการสร้างโครงสร้างนาโนในรูปแบบการผลิตจากใหญ่ไปเล็ก

                       (top-down) และกลุ่มวิธีการที่เรียกว่า  Scanning Probe Microscopy (SPM) การใช้กล้องจุลทรรศน์

                       อิเล็กตรอน (Electron Microscopy)  และการใช้ความสามารถในการประกอบตัวเองได้ (self-assembly)

                       ซึ่งเป็นวิธีการสร้างโครงสร้างนาโนในรูปแบบการผลิตจากเล็กไปใหญ่ (bottom-up)  โดยมีรายละเอียด

                       ดังนี้   กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงโดยทั่วไปที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้  สามารถที่จะ
                       ช่วยให้มนุษย์มองเห็นรายละเอียดได้สูงสุดอยู่ในระดับของช่วงแสงที่มนุษย์มองเห็นได้ คือ 400 - 700

                       นาโนเมตรเพียงเท่านั้น (หรือที่ดีที่สุดก็อยู่ในช่วงระดับความละเอียด 200  -  400  นาโนเมตร) ซึ่ง

                       ความละเอียดในระดับนี้นั้นไม่สามารถที่จะท าให้มองเห็นโลกระดับนาโนได้  แต่ทว่าเครื่องมือกลุ่ม

                       Scanning  Probe  Microscope  (SPM)  นี้  เป็นเครื่องมือที่ไม่ได้ใช้แสงที่มองเห็นได้แต่อย่างใด
                       หากแต่เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ปลายแหลมที่มีขนาดเล็กระดับอะตอมวัดแรงระหว่างอะตอมหรือ

                       โมเลกุล  หรือวัดเกี่ยวกับการลอดผ่านได้แบบควอนตัมของอิเล็กตรอน  ดังนั้นจึงท าให้สามารถที่จะ

                       วัดได้อย่างละเอียดในระดับสเกลของควอนตัม  (ซึ่งก็คือระดับอะตอมหรือโมเลกุลนั่นเอง)  ท าให้

                       สามารถที่จะมองเห็นหรือศึกษาโลกที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตรได้เป็นอย่างดี  โดยมีความละเอียด
                       อยู่ในระดับมากถึง 0.1 นาโนเมตรเลยทีเดียว  (หรือระดับอะตอมเดี่ยวเลยก็ว่าได้) Scanning Probe


                                                                                                        13
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18