Page 15 - เอกสารประกอบการเรียน หน่วยที่ 1
P. 15

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับคุณภาพชีวิต







                       การสแกนภาพอะตอม (atom imaging mode)  วิธีการนี้เป็นการใช้หัวปลายแหลมของเครื่อง STM
                       ที่เล็กมากในระดับอะตอมในการสแกนไปบนพื้นผิวของวัตถุโลหะที่มีอะตอมวางอยู่   ซึ่งพื้นผิวนั้นก็จะ

                       ถูกปล่อยกระแสไฟฟ้ าให้ไหลผ่านเพื่อที่จะใช้ตรวจสอบลักษณะของพื้นผิวการสแกนจะเริ่มต้นจาก

                       การก าหนดต าแหน่งบนพื้นผิวตัวอย่างว่าจะท าการสแกนบริเวณใด  จากนั้นก าหนดขนาดพื้นที่ที่จะ
                       ท าการสแกน  ซึ่งถ้าเป็นพื้นที่ขนาดเล็กการสแกนก็จะได้รายละเอียดสูง  แต่ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่

                       รายละเอียดที่ได้ก็จะน้อยตามไปด้วย การบังคับปลายเข็มท าได้โดยใช้ความต่างศักย์และกระแสไฟฟ้ า

                       ในการกระตุ้นผลึกเซรามิคที่ยึดติดกับหัวเข็ม ให้หดหรือคลายตัว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ถูกน ามาใช้

                       ในการใส่ข้อมูลหรือตัวแปรที่ต้องการควบคุม ตัวอย่างเช่น  พื้นที่ในการสแกน  ค่าความต่างศักย์

                       และกระแสไฟฟ้ า เป็นต้น ในขณะที่ท าการสแกน สัญญาณไฟฟ้ าที่ตรวจสอบได้จากพื้นผิว ซึ่งได้แก่
                       ความต้านทานและกระแสไฟฟ้ า จะถูกส่งและน ามาสร้างเป็นภาพจ าลองแบบ 3  มิติของลักษณะ

                       พื้นผิวนั้นได้  ส่วนวิธีการที่สองเป็นการเคลื่อนย้ายอะตอม (atom  manipulation mode)  วิธีการนี้

                       จะใช้หัวปลายแหลมในการหยิบหรือจับอะตอม  และท าการเคลื่อนย้ายไปวาง ณ ต าแหน่งที่ต้องการ

                       ซึ่งกระบวนการของการเคลื่อนย้ายอะตอมนี้   สามารถท าได้โดยการใช้สนามไฟฟ้ าระหว่างปลาย

                       แหลมและพื้นผิวตัวอย่าง  โดยเมื่อปลายแหลมเคลื่อนที่มาอยู่ในต าแหน่งเหนืออะตอมที่เหมาะสม
                       ที่จะสามารถท าการหยิบจับอะตอมที่อยู่บนพื้นผิวที่อยู่ในสนาม ไฟฟ้ าอยู่แล้ว  จะท าให้ก าแพงที่ขวาง

                       ความสามารถในการไหลของกระแสไฟฟ้ าทั้งส่วนของปลายแหลมและจากอะตอมนั้นถูกลดลง    แต่

                       ขณะเดียวกันความสามารถในการไหล ณ บริเวณปลายแหลมจะมีพลังงานที่ต ่ากว่าบริเวณของ

                       อะตอมมาก  จึงท าให้อะตอมถูกส่งผ่านขึ้นไปสู่ปลายแหลมได้โดยง่าย  จึงท าให้สามารถที่จะหยิบ
                       หรือจับอะตอมได้และหลังจากนั้นเมื่อต้องการที่จะวางอะตอมลงไป ณ จุดที่ก าหนดไว้  ก็สามารถท า

                       ได้โดยการถ่วงกระแสไฟฟ้ าที่ไหลผ่านปลายแหลม  จะท าให้ความสามารถในการไหลของบริเวณฝั่ง

                       พื้นผิวอะตอม  มีพลังงานต ่ากว่าของส่วนปลายแหลม  จึงท าให้อะตอมที่ถูกจับไว้โดยปลายแหลม

                       นั้น  ถูกส่งผ่านกลับสู่พื้นผิวตัวอย่างได้  ล่าสุดได้มีการทดลองโดยใช้ปลายแหลมของเครื่อง SPM ใน
                       การจัดเรียงอะตอมของแมงกานีส (manganese)   ลงไปในโครงสร้างผลึกแลททิก (lattice)   แทนที่

                       ต าแหน่งของอะตอมแกลเลียม (gallium)  ของพื้นผิวของสารกึ่งตัวน าแกลเลียมอาร์เซไนด์ (gallium

                       arsenide)  ซึ่งผลที่เกิดขึ้นนั้นท าให้ได้โครงสร้างของสารกึ่งตัวน านี้ที่มีคุณสมบัติพิเศษ  สามารถเป็น

                       เฟอโรแมกเนติก (ferromagnetic) ได้  อันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของอะตอมแมงกานีสที่จัด

                       วางลงไป (ซึ่งเกิดจากอะตอมของแมงกานีสที่อยู่ติดกันมีสปินของอิเล็กตรอนหันไปในทิศทางเดียวกัน)
                       หรือเรียกได้ว่าเป็นโครงสร้างนาโนของสารกึ่งตัวน าแบบแม่เหล็ก (magnetic  semiconductors)






                                                                                                        15
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20