Page 45 - คมองานบรหาร_Neat
P. 45

41

                                        5.3.4 ให้ปักหมุดสีลงในนาฬิกาอาชญากรรมและแผนที่อาชญากรรม เพื่อเป็น

                  สัญลักษณ์แทนประเภทคดี สถานที่ และเวลาสถานที่เกิดเหตุ จ านวน 1 หมุด ต่อ 1 คดี เพื่อน ามาเป็นข้อมูล

                  ประกอบการวางแผนการตรวจ

                                        5.3.5 คดีไหนที่จับกุมได้ให้ใช้สีขาวแต้มที่หมุดอันนั้นเพื่อแสดงว่าจับกุมได้แล้ว

                                        5.3.6 เมื่อปักหมุดสีครบ 1 เดือน ในนาฬิกาอาชญากรรมเรือนแรกแล้ว ให้เริ่มปักหมุด

                  สีเดือนที่ 2 ในนาฬิกาอาชญากรรมเดือนที่ 2 จนครบเดือน แล้วจึงปลดข้อมูลอาชญากรรมของเดือนแรก

                  เพื่อปักหมุดสีของเดือนที่ 3 โดยให้จัดท าสลับกันเช่นนี้เรื่อยไป

                                        5.3.7 นาฬิกาอาชญากรรมนี้ ท าเพื่อใช้ในการวางแผนป้องกันการเกิดของคดี ดังนั้น

                  คดีในกลุ่มที่ 4 นั้น ไม่จ าเป็นต้องปักหมุด และประเภทคดีที่จะก าหนดให้ปักหมุดนั้น แต่ละสถานีต ารวจก าหนด

                  เพิ่มขึ้นเองได้ หรืออาจแยกประเภทของคดีให้ละเอียดลงไปอีก เช่น คดีลักทรัพย์ในศูนย์การค้า คดีลักทรัพย์

                  ในเคหสถาน ฯลฯ ตามแต่ประเภทคดีที่เกิดขึ้นบ่อย และสภาพของแต่ละพื้นที่

                                        อนึ่ง แผนที่สังเขปแสดงเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตารางแสดงสถิติคดีอาญา และนาฬิกา

                  อาชญากรรม ควรมีการจัดท าไว้ในทุกระดับ เช่น บช./ภ. , บก./ภ.จว. และสน./สภ. ทั้งนี้เพื่อประโยชน์

                  ในการวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรมในภาพรวม และเพื่อสะดวกในการสั่งการ อาทิเช่น

                                        1) ระดับ บช./ภ. จัดท าแผนที่สังเขปแสดงเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตารางแสดงสถิติ

                  คดีอาญา 4 กลุ่ม และนาฬิกาอาชญากรรม เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของพื้นที่ทุก บก./ภ.จว. ที่รับผิดชอบ

                  โดยเจ้าหน้าที่มีการปักหมุดสีแสดงคดีที่เกิดขึ้นบนแผนที่ และนาฬิกาอาชญากรรม ผู้บริหารระดับ บช./ภ.

                  ควรเฝ้าดูกลุ่มคดีที่เกิดขึ้นว่าคดีเกิดขึ้นมากบริเวณพื้นที่ใด ถนนสายใด ห้วงเวลาใดมากที่สุด และพิจารณาสั่ง

                  การให้รถยนต์สายตรวจของ บก./ภ.จว. ออกตรวจเสริมหรือสนับสนุนพื้นที่ที่มีเหตุเกิดขึ้นมากดังกล่าว

                                        2) ระดับ บก./ภ.จว. จัดท าแผนที่สังเขปแสดงเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตารางแสดงสถิติ

                  คดีอาญา และนาฬิกาอาชญากรรม เพื่อแสดงภาพรวมของพื้นที่สถานีที่รับผิดชอบโดยเจ้าหน้าที่มีการปักหมุดสี

                  แสดงคดีที่เกิดขึ้นบนแผนที่ และนาฬิกาอาชญากรรม ผู้บริหารระดับ บก./ภ.จว. สามารถเฝ้าดูกลุ่มคดีที่เกิดขึ้น

                  ว่าคดีเกิดขึ้นมากบริเวณพื้นที่ใด บริเวณใด ถนนสายใด ห้วงเวลาใดมากที่สุด และพิจารณาสั่งการให้มาตรการ

                  ลงไปเพื่อให้ผู้ปฏิบัติระดับสถานีรับไปด าเนินการ และควรมีการตรวจสอบโดยมีการจัดประชุมชี้แจงสถานภาพ

                  อาชญากรรมทุกเดือน หรือเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าผู้ปฏิบัติระดับสถานีท าตามมาตรการที่สั่งการ

                  ไปหรือไม่ ได้ผลเพียงใด

                                        3) สน./สภ. จัดท าแผนที่สังเขปแสดงเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตารางแสดงสถิติคดีอาญา

                  และนาฬิกาอาชญากรรม เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของพื้นที่สถานีที่รับผิดชอบโดยเจ้าหน้าที่ปักหมุดสี

                  แสดงคดีที่เกิดขึ้นบนแผนที่ และนาฬิกาอาชญากรรมผู้บริหารระดับสถานีจะต้องเฝ้าดูกลุ่มคดีที่เกิดว่าเกิดมาก
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50