Page 49 - คมองานบรหาร_Neat
P. 49
45
6.3 ขั้นตอนการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐาน ถือเป็น
เทคนิคส าคัญประการหนึ่งซึ่งจะสามารถท าให้ขั้นตอนต่าง ๆ ด าเนินไปด้วยความถูกต้อง ประหยัด และรวดเร็ว
แล้วน าข้อมูลดังกล่าวนั้นมาวิเคราะห์ปรับใช้ในการวางแผนป้องกันอาชญากรรมอย่างรอบคอบ รัดกุม ซึ่งอาจ
สรุปข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ดังนี้
6.3.1 สถิติคดีที่พนักงานสอบสวนได้รับการร้องทุกข์จากประชาชน โดยน าข้อมูลนี้มา
ท าการวิเคราะห์ แล้วท าการเปรียบเทียบประเภทคดี การเพิ่มลดของคดี อัตราส่วนร้อยละต่าง ๆ ด้วยกรรมวิธี
ทางสถิติศาสตร์ เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพอาชญากรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบว่าหน่วยสามารถด าเนินการ
ให้บรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ การวิเคราะห์เปรียบเทียบนี้จะต้องด าเนินการให้ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ
อาจแบ่งเป็นช่วงเวลาได้ดังนี้
6.3.1.1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบคดี (ทุก 10 วัน นับแต่วันที่ 1 ของทุกเดือน)
6.3.1.2 การวิเคราะห์เปรียบเทียบคดีระหว่าง เดือนต่อเดือน
6.3.1.3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบคดีระหว่าง ปีต่อปี
โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์สามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ 3 แนวทาง คือ
1) การวิเคราะห์เพื่อทราบแนวโน้มของคดีที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบ
ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกัน เช่น สถิติการเกิดเดือนมกราคม 2561 เปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2561
หรือไตรมาสสุดท้ายของปี 2560 เปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2561 เพื่อทราบว่าคดีมีแนวโน้มที่ลดลง
หรือเพิ่มขึ้นอย่างไร
2) การวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้แก่ การเปรียบเทียบด้าน
การเกิดและการจับกุมของกลุ่มคดีต่าง ๆ ตามที่หน่วยเหนือได้ก าหนดไว้
3) การวิเคราะห์เพื่อการวางแผนในการป้องกันรายคดี ซึ่งหมายถึงการวิเคราะห์
รูปแบบ/แบบแผนประทุษกรรมคนร้ายเป็นคดี ๆ ไป เช่น วิเคราะห์คดีฆ่า, คดีลักทรัพย์, คดีลักยานพาหนะ เป็นต้น
เพื่อให้ทราบถึงลักษณะย่อย เช่น ผลที่เกิดกับผู้เสียหาย ประเภทคนร้าย ลักษณะ/ต าหนิรูปพรรณคนร้าย ยานพาหนะ
ที่คนร้ายใช้ อาวุธที่ใช้ ทรัพย์สินที่เสียหาย เป็นต้น และวิเคราะห์เพื่อทราบความถี่ที่เกิดขึ้นในแต่ละสถานที่
ช่วงเวลา ซึ่งจะน ามาวางแผนป้องกันคดีให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
6.3.2 ข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ
6.3.2.1 ข้อมูลข่าวสารโดยตรง ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับแจ้งโดยตรงจากสื่อข้อมูล
หรือแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลที่ได้รับจากการร้องเรียนของประชาชนทั้งจากโทรศัพท์ เอกสาร หรือ
มาร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ต ารวจด้วยตนเอง ข้อมูลที่ได้รับจากการซักถามขยายผลจากผู้ต้องหา หรือผู้ต้องสงสัย
ข้อมูลที่ได้รับจากการไปเยี่ยมเยียนประชาชน ฯลฯ เป็นต้น