Page 51 - คมองานบรหาร_Neat
P. 51

47

                  ต่ออาชญากรรมแล้ว ยังเป็นความรู้สึกขมขื่น สูญเสีย หมดหวัง และท้อแท้ และร้ายที่สุดคืออาจหมด

                  ความเชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต ารวจ
                                การวางแผนจะต้องวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรมเชิงรุกและการพยากรณ์เหตุการณ์

                  สถานภาพอาชญากรรม เช่น การคาดการณ์ว่าในวันต่อไป สัปดาห์หน้า เดือนหน้า หรือปีหน้า น่าจะมีคดี

                  ประเภทใดเกิดขึ้นบ้าง เกิดที่ใด เวลาใด กลุ่มคนร้ายน่าจะเป็นใคร วิธีการและมูลเหตุเป็นอย่างไร และบุคคล

                  กลุ่มใดน่าจะตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นข้อมูลที่ส าคัญยิ่งต่อ

                  การระดมสรรพก าลังการวางแผน การจัดสายตรวจการก าหนดมาตรการที่เหมาะสม รวมทั้งการประชาสัมพันธ์

                  ให้ประชาชนกลุ่มที่น่าจะตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม (Crime Victim) ได้ทราบถึงแนวโน้มดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยง

                  อาชญากรรม
                                เช่นขณะนี้เป็นวันที่ 10 มี.ค. 2561 ซึ่งการวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรมในระหว่างวันที่

                  16-31 มี.ค. 2561 ปรากฏว่าคดีประเภทลักทรัพย์รถยนต์และรถจักรยานยนต์เกิดขึ้นค่อนข้างสูง (โดยมี

                  รายละเอียดทั้งสถานที่และช่วงเวลาที่เกิดเหตุ) ฉะนั้นการวางแผนการตรวจในช่วง 16-31 มี.ค. 2561 ผู้บริหาร

                  งานสายตรวจก็จะต้องพยากรณ์ว่าน่าจะมีคดีประเภทดังกล่าวสูงขึ้น จึงต้องวางแผนและจัดก าลังสายตรวจ

                  ออกลาดตระเวนตรวจตราบ่อยครั้งและถี่ขึ้น ทั้งยังต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รถเพิ่มความระมัดระวังในการดูแล
                  รักษายานพาหนะ

                                อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าการวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรมเชิงรุกและการพยากรณ์

                  อาชญากรรม เป็นหลักการที่ยอมรับได้ เป็นการด าเนินการทางสถิติอย่างมีเหตุผล ซึ่งถ้ากระท าโดยอาศัย

                  เทคโนโลยีใหม่ช่วยด้วยแล้ว ก็ย่อมท าให้เกิดประสิทธิภาพยิ่ง

                  7. การจัดผลัดสายตรวจ
                         เป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุดปฏิบัติการสายตรวจ ระยะเวลาในการตรวจ การจัดสายตรวจ

                  ประจ าเขตตรวจ และการพัฒนางานสายตรวจ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของชุดปฏิบัติการสายตรวจ

                  ระยะเวลาในการตรวจ และการจัดสายตรวจประจ าเขตตรวจ
                         การจัดสายตรวจเพื่อให้ท างานได้เต็มประสิทธิภาพ ควรค านึงถึงชั่วโมงการท างาน โดยเทียบเคียงกับ

                  มาตรฐานของ กพ. และกฎหมายแรงงาน

                         มาตรฐานของ กพ. เวลามาตรฐานของเจ้าหน้าที่หนึ่งอัตราต่อการท างานหนึ่งปี

                                -  เท่ากับ 230 วัน/ปี X 6 ชั่วโมง/วัน = 1,380 ชั่วโมง/ปี

                             มาตรฐานของกฎหมายแรงงาน สัปดาห์ละไม่เกิน 48 ชั่วโมง

                                -  เท่ากับ 192 ชั่วโมง/เดือน เท่ากับ 2,304 ชั่วโมง/ปี

                         ในปัจจุบันมีการจัดชุดปฏิบัติการสายตรวจทั้งระบบ 2 ชุดปฏิบัติการ 3 ชุดปฏิบัติการ และ 4 ชุด
                  ปฏิบัติการ ตามตัวอย่างการจัดเวรเจ้าหน้าที่สายตรวจดังนี้
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56