Page 55 - คมองานบรหาร_Neat
P. 55
51
1.2 การจัดรูปแบบออกตรวจ
ในการก าหนดแผนให้สายตรวจออกตรวจตราป้องกันเหตุนั้น อาจก าหนดรูปแบบในการ
ออกตรวจได้หลายแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ก าลังพล เครื่องอุปกรณ์ ยานพาหนะ และสถานภาพ
อาชญากรรม รูปแบบดังกล่าวได้แก่
1.2.1 การตรวจประจ าเขต คือ การจัดสายตรวจ ตรวจตรารับผิดชอบประจ าในเขตตรวจใด
เขตตรวจหนึ่งตลอดเวลาการปฏิบัติหน้าที่ การตรวจแบบนี้ สายตรวจสามารถตรวจตราได้อย่างทั่วถึง
เพราะประจ าอยู่ในเขตตรวจเป็นเวลานาน และสามารถสร้างความคุ้นเคยกับประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
แต่อย่างไรก็ตามการตรวจประจ าเขตอาจมีข้อเสีย กล่าวคือ ท าให้สายตรวจเกิดความเบื่อหน่าย เพราะต้อง
ตรวจตราในเขตแคบ ๆ อย่างจ ากัดตลอดเวลา นอกจากนี้หากมีเหตุร้ายในเขตตรวจอื่น ซึ่งสายตรวจต้องไปรวม
ก าลังช่วยเหลือ ขาดความรู้ ความช านาญพื้นที่ในเขตตรวจนั้นซึ่งไม่เคยตรวจตรา ย่อมท าให้การเดินทางไปยังที่เกิด
เหตุล่าช้า และขีดความสามารถการปฏิบัติการในบริเวณที่เกิดเหตุไม่เพียงพอ และประการสุดท้ายได้แก่ การที่
สายตรวจประจ าเขตมีความคุ้นเคยกับประชาชนอย่างแน่นแฟ้น อาจท าให้การออกตรวจลาดตระเวนมีน้อย
เนื่องจากอาจใช้เวลาส่วนใหญ่พูดคุยสังสรรค์กับประชาชนและการปราบปรามอาจได้ผลน้อยอันเนื่องมาจาก
ความเกรงใจกันและกันก็ได้
แต่อย่างไรก็ตามการตรวจประจ าเขตจะท าให้งานต ารวจชุมชนสัมพันธ์ได้ผลดี ข้อขัดข้องต่าง ๆ
เป็นสิ่งที่ต้องใช้มาตรการอื่นในการควบคุมเข้ามาแก้ไข
1.2.2 การตรวจหมุนเขต คือการตรวจที่ตรงกันข้ามกับการตรวจประจ าเขต กล่าวคือเป็นการจัด
สายตรวจให้ตรวจตรารับผิดชอบอยู่ในเขตตรวจในตรวจหนึ่งในช่วงเวลาจ ากัด เช่น 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง เป็นต้น
แล้วให้หมุนเวียนไปตรวจเขตใกล้เคียง โดยมีสายตรวจอื่นเข้าไปตรวจแทนที่หมุนเวียนกันไปจนเสร็จสิ้น
การปฏิบัติหน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น สถานีมีสายตรวจ 4 คัน มีเขตตรวจ 4 เขต ในช่วง 2 ชั่วโมงแรก สายตรวจคัน
ที่ 1 ตรวจประจ าเขตตรวจที่ 1, สายตรวจคันที่ 2 ประจ าเขตตรวจที่ 2, สายตรวจคันที่ 3 ประจ าเขตตรวจที่ 3,
สายตรวจคันที่ 4 ประจ าเขตตรวจที่ 4, 2 ชั่วโมงต่อมา สายตรวจคันที่ 1 จะหมุนไปตรวจเขตตรวจที่ 4,
สายตรวจคันที่ 2 จะหมุนไปตรวจเขตตรวจที่ 1, สายตรวจคันที่ 3 จะหมุนไปตรวจเขตตรวจที่ 2, และสายตรวจ
คันที่ 4 จะหมุนไปตรวจเขตตรวจที่ 3 หมุนเวียนกันไปเช่นนี้
ผลดีของการใช้รูปแบบนี้ ท าให้สายตรวจทุกคันมีความรู้ความช านาญในพื้นที่ทั่วถึง
และครอบคลุม มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานได้ทุกเขตตรวจ ไม่เกิดความจ าเจ เบื่อหน่าย เนื่องจาก
ได้มีการเปลี่ยนหมุนเวียนไปในพื้นที่ต่าง ๆ ตลอดเวลา ประการส าคัญคือ สามารถควบคุมตรวจสอบได้ง่ายกว่า
แบบที่ 1 โดยเฉพาะการตรวจสอบการลงเวลาบันทึกลงในจุดตรวจ เพราะว่าสายตรวจจ าเป็นต้องลงชื่อ เวลาตาม
จุดตรวจได้ในเวลาจ ากัด เมื่อหมุนไปอยู่เขตอื่นก็ไม่มีเวลากลับมาลงเวลาตรวจ (ในกรณีไม่ได้ตรวจตามแผน)
รายละเอียดให้ดูในเรื่องการควบคุมสายตรวจข้อจ ากัดก็ได้แก่ การที่ต้องตรวจตราไปทุกเขต อาจท าให้ความ