Page 59 - คมองานบรหาร_Neat
P. 59
55
3.5 การก าหนดมาตรฐานในการปฏิบัติ
3.5.1 ความเร็วในการรับโทรศัพท์ ให้รับด้วยความเร็วไม่เกิน 4 วินาที เมื่อโทรติด
ส าหรับศูนย์รับแจ้งเหตุที่มีการติดตั้งตู้ชุมสายโทรศัพท์ที่มีระบบกระจายการเรียกเข้าโดยอัตโนมัติ (Automatic
Call Distribution) หรือไม่เกิน 15 วินาที (3 กริ๊ง) เมื่อโทรติด ส าหรับศูนย์รับแจ้งเหตุที่ยังไม่มีตู้ชุมสาย
โทรศัพท์อัตโนมัติ
3.5.2 ปริมาณการรับสาย ให้รับสายทุกสายที่เรียกเข้า หากมีสายที่ไม่ได้รับบริการ
ให้หัวหน้าศูนย์รีบจัดการแก้ไขปัญหา และไม่ควรให้มีสายที่ไม่ได้รับบริการ (Abandoned Call) เกินร้อยละ 1
3.5.3 การรับแจ้ง/จัดการเหตุฉุกเฉิน (Emergency Call)
1) จัดให้มีระบบการบันทึกเหตุ สถานที่เกิดเหตุ ด้วยคอมพิวเตอร์ ส าหรับ
ศูนย์รับแจ้งเหตุที่มีการติดตั้งระบบเทคโนโลยีของส านักงานต ารวจแห่งชาติ และสมุดหรือแบบฟอร์มส าหรับ
ศูนย์รับแจ้งเหตุที่ยังไม่มีการติดตั้งระบบฯ โดยให้ปรากฏข้อมูล วันเวลาที่รับแจ้ง ประเภทของเหตุ สถานที่เกิดเหตุ
ผู้แจ้ง ผู้รับแจ้ง เวลาที่สั่งการสายตรวจ เวลาที่สายตรวจถึงที่เกิดเหตุ ผลการปฏิบัติ
2) ให้ซักถามเหตุสถานที่เกิดเหตุ และสั่งการเหตุไปยังสายตรวจ หรือ
ผู้รับผิดชอบ ให้ได้รับทราบเพื่อเดินทางไปที่เกิดเหตุ ในระยะเวลาไม่ควรเกิน 1 นาที โดยเฉพาะเหตุที่ก าลังเกิด
(In Progress) เหตุที่พึ่งจะเกิดขึ้น (Just Occurred) และเหตุที่ต้องมีการสกัดจับ ให้ซักถามเบื้องต้นแล้วสั่งการ
ไปทันที จากนั้นจึงซักถามข้อมูลแล้วแจ้งสายตรวจเพิ่มเติม
3) ให้น าระบบการระบุต าแหน่งของผู้แจ้งด้วยโทรศัพท์ Smart Phone เช่น
การ Share Location ในโปรแกรม Line หรือการส่งต าแหน่งด้วยโปรแกรมอื่น มาใช้ในการรับแจ้งเหตุ
เพื่อสามารถระบุต าแหน่งของผู้แจ้งด้วยความรวดเร็วและสามารถส่งต่อข้อมูลต าแหน่งของผู้แจ้งไปยังสายตรวจ
เพื่อเดินทางไปที่เกิดเหตุโดยถูกต้อง รวดเร็ว อีกส่วนหนึ่งด้วย
4) ให้มีการติดตามผลการปฏิบัติ ว่าสายตรวจไปถึงที่เกิดเหตุแล้วหรือไม่ ใช้เวลา
เท่าใด ผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร
5) ให้มีการโทรศัพท์กลับไปหาผู้แจ้ง เพื่อสอบถามผลการปฏิบัติ วัดความพึง
พอใจ และข้อเสนอแนะ
3.5.4 การสกัดจับ
1) พนักงานวิทยุ พึงระลึกอยู่เสมอว่าความเร็วในการสื่อสาร สั่งการ และการเข้า
ประจ าจุด ถือเป็นหัวใจส าคัญในการปฏิบัติ จึงต้องรับแจ้งเหตุให้สั้น กระชับ ให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นและรีบแจ้ง
สกัดจับไปก่อน จากนั้นจึงค่อยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
2) ข้อความที่ควรใช้ส าหรับพนักงานวิทยุในการสกัดจับ คือ กด Alert Tone
สั้นๆ ติดต่อกันหลายๆ ครั้ง แล้วใช้ข้อความว่า “ศูนย์...(ชื่อศูนย์)...แจ้งสกัดจับกุมรถ ก่อเหตุ/ถูกก่อเหตุ....
(ชื่อเหตุ)..จาก..(สถานที่เกิดเหตุ)...... แล้วตามด้วย ประเภทรถ ยี่ห้อ รุ่น สี หมายเลขทะเบียน ที่สังเกต ก่อเหตุ/
ถูกก่อเหตุ...(ชื่อเหตุ)....จาก..(สถานที่เกิดเหตุ)....เมื่อเวลา........ หรือ ...(กี่นาที)... ที่ผ่านมา หลบหนี มุ่งหน้า.......
จราจร และสายตรวจสกัดจับตามแผนด้วย เปลี่ยน”
3) พนักงานวิทยุจะต้องมีความรอบรู้ในพื้นที่ และเข้าใจในการใช้แผนที่