Page 61 - คมองานบรหาร_Neat
P. 61

57

                                       3.6.1 จะต้องมีความรู้ในวิชาการสื่อสารของส านักงานต ารวจแห่งชาติ

                                       3.6.2 จะต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ พร้อมที่จะตอบรับจากการเรียกของสายตรวจ และลูกข่าย
                  อื่น ๆ ตลอดเวลา

                                       3.6.3 จะต้องศึกษาแผนการตรวจ และก ากับดูแลสายตรวจ ให้ปฏิบัติตามแผนนั้น
                  โดยการตรวจสอบอาจจะใช้วิธีสอบถามสถานที่ที่ออกตรวจ (ว.4, ว.1) หรือใช้เทคโนโลยีระบบบอกต าแหน่ง

                  อัตโนมัติ (Automatic Vehicle Location System) หรือน าระบบการระบุต าแหน่งของสายตรวจด้วยโทรศัพท์

                  Smart Phone เช่น การ Share Location ในโปรแกรม Line หรือการส่งต าแหน่งด้วยโปรแกรมอื่นมาใช้ใน
                  การติดตามสายตรวจ

                                       3.6.4 จะต้องสั่งการเหตุด้วยความรวดเร็ว และติดตามผลการปฏิบัติทุกครั้ง
                                       3.6.5 จะต้องมีความซื่อสัตย์ บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ตรงกับความเป็นจริง โดยเฉพาะ

                  ข้อมูลเวลา สั่งการ เวลาที่สายตรวจถึงที่เกิดเหตุ

                                       3.6.6 จะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และพัฒนาตนเองตลอดเวลา
                         4. การควบคุมการปฏิบัติงานสายตรวจ

                                4.1 การควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานสายตรวจ

                                        การควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของสายตรวจเป็นการมุ่งพิจารณาถึงประสิทธิผล

                  การปฏิบัติหน้าที่สนองตอบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

                  ประกอบด้วยการใช้ระบบควบคุม (Control Systems) ที่ส าคัญ 3 ส่วน คือ
                                        1) การควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ประจ าปกติของต ารวจ โดยผู้บังคับบัญชาและโดย

                  อาศัยกระบวนการตรวจตราราชการของต ารวจ ที่มีผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง

                                        2) การควบคุมโดยการกวดขันวินัยของต ารวจจากผู้บังคับบัญชา อย่างเด็ดขาดจริงใจ
                  และการรับพิจารณาเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของต ารวจ

                                        3) การวิจัย และประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของต ารวจ เพื่อประโยชน์ต่อการ
                  ก าหนดแผนปฏิบัติงานสายตรวจที่มีประสิทธิภาพต่อไป

                                แต่อย่างไรก็ตามจุดมุ่งหมายหลักของการควบคุมบังคับบัญชาต ารวจจะต้องเกี่ยวข้องกับ
                  ประเด็นส าคัญ 3 ประการ คือ

                                        1) เพื่อป้องกันมิให้สายตรวจในอ านาจหน้าที่ในทางมิชอบ

                                        2) เพื่อเสริมความมั่นใจแก่ฝ่ายบริหารว่าสายตรวจเคารพและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
                  ในการด ารงรักษาระเบียบวินัยภายในหน่วยงานสายตรวจ

                                        3) เพื่อติดตามและประสานการปฏิบัติงานของสายตรวจให้ไปสู่วัตถุประสงค์และ

                  เป้าหมายของหน่วยงาน
                                ตามหลักการบริหาร การควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานอยู่นั้น ถือว่าเป็นสิ่งจ าเป็นอย่างยิ่ง

                  ทั้งนี้เนื่องจากหากมีการปฏิบัติที่ผิดพลาด บกพร่อง หรือมีอุปสรรคใด ๆ เกิดขึ้น ผู้คุมตรวจสอบจะได้รีบหา

                  แนวทาง และวิธีการตักเตือนแก้ไขมิให้เกิดความเสียหายใหญ่โต และยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบดูว่างานที่ได้
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66