Page 41 - คมองานบรหาร_Neat
P. 41
37
1.2 อาวุธปืนยาว เป็นอาวุธปืนที่มีประสิทธิภาพในการทะลุทะลวงสูง มีระยะหวังผล
ไกลกว่าอาวุธปืนพกสั้น และยังสามารถยิงกระสุนปืนออกมาได้ครั้งละหลายนัดติดต่อกัน มีขนาดใหญ่ น้ าหนัก
มาก ไม่สะดวกต่อการพกพา การใช้อาวุธปืนชนิดนี้ไม่สมควรใช้ในที่ที่มีประชาชนหนาแน่นหรือในเมืองเพราะ
มีอัตราเสี่ยงต่อการพลาดเป้าไปถูกผู้อื่นได้ง่าย
2. ยานพาหนะ ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ จักรยาน เรือ เครื่องบิน เป็นต้น ยานพาหนะ
ดังกล่าว จะต้องมีสัญลักษณ์อันเป็นเครื่องหมายของหน่วยงานต ารวจ เช่น รถยนต์สายตรวจ ต้องติดชื่อสถานี
ต ารวจ หมายเลขโทรศัพท์ของสถานีต ารวจ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินส าหรับแจ้งเหตุ และสัญลักษณ์ตรารูป
“โล่เขน” ซึ่งเป็นแบบที่ทางราชการก าหนดให้มีไว้ ส่วนรถจักรยานยนต์สายตรวจควรมีการติดตั้งกระบังลม
ด้านหน้าเพื่อบังลม และให้มีพื้นที่ที่จะติดสังกัดของหน่วยงาน เช่น ชื่อสถานีต ารวจและหมายเลขประจ ารถ
3. เครื่องมือสื่อสาร เป็นอุปกรณ์ที่จ าเป็นส าหรับงานสายตรวจ เครื่องมือสื่อสารใช้ใน
การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เช่น การส่งข้อความ รับค าสั่ง หรือสั่งการระหว่างผู้บังคับบัญชากับสายตรวจ
หรือระหว่างสายตรวจกับสายตรวจด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อโดยผ่านศูนย์วิทยุแม่ข่าย หรือติดต่อกัน
ระหว่างลูกข่ายด้วยกันเอง ท าให้สายตรวจไม่เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวในขณะออกตรวจ หรือก าลังเผชิญเหตุร้าย
อยู่เพียงล าพัง สามารถเรียกก าลังสนับสนุน หรือขอความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ได้เมื่อจ าเป็น การ
ติดต่อสื่อสารที่ดีมีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย และมีปริมาณที่สมดุลกับก าลังเจ้าหน้าที่สายตรวจที่ปฏิบัติหน้าที่
ท าให้การปฏิบัติหน้าที่ของสายตรวจเป็นไปด้วยความรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในกิจการของต ารวจ ได้แก่
3.1 วิทยุรับ – ส่ง ที่ใช้อยู่ในกิจการต ารวจมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ เช่น
3.1.1 วิทยุแบบมือถือ (Walky Talky)
3.1.2 วิทยุแบบติดรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ (Mobile) วิทยุแบบนี้มีขนาดกลาง
ที่มีก าลังส่งได้ในรัศมีประมาณ 40 – 50 กิโลเมตร นิยมติดตั้งประจ าในรถยนต์สายตรวจหรือรถจักรยานยนต์
3.1.3 วิทยุแบบติดตั้งประจ าที่ (Station) วิทยุแบบนี้มีขนาดใหญ่มีก าลังส่งได้ในรัศมี
ไกลหลายกิโลเมตร ติดตั้งไว้ประจ าที่ ณ สถานีต ารวจ หรือศูนย์กลางปฏิบัติงาน เรียกชื่อว่า “ศูนย์หรือแม่ข่าย”
ใช้ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยเหนือ หน่วยข้างเคียงและลูกข่าย
3.2 วิทยุมือถือระบบทรั้งค์ (Trunk) วิทยุมือถือแบบนี้ใช้ช่วงความถี่ของคลื่นในย่าน
800 MHz สามารถใช้งานได้ทั้งการติดต่อแบบวิทยุรับ – ส่ง และการติดต่อด้วยโทรศัพท์ในตัวเครื่องเดียวกัน
วิทยุแบบนี้ใช้ติดต่อรับ – ส่งข้อความข่าวสารส าหรับการติดต่อกันเป็นกลุ่ม ๆ เครื่องรับแต่ละเครื่องในกลุ่ม
จะสามารถรับข้อความที่ส่งเข้าในความถี่ที่ตั้งไว้ส าหรับเครื่องรับในกลุ่มของตนเองเท่านั้น โดยกลุ่มอื่นมิอาจ
ล่วงรู้การติดต่อของเครื่องรับภายนอกกลุ่มของตนเอง