Page 38 - คมองานบรหาร_Neat
P. 38

34

                                4) สายตรวจเรือยนต์ (Boat Patrol) การประกอบก าลังใช้ 3 นาย เช่นเดียวกับรถยนต์

                  เนื่องจากเขตพื้นที่ปกครองของบางสถานีต ารวจเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ า และไม่สามารถใช้สายตรวจ

                  ประเภทอื่น ๆ ได้ จึงมีความจ าเป็นต้องมีสายตรวจประเภทนี้ขึ้น เพื่อใช้ในด้านการป้องกันปราบปราม

                  อาชญากรรมทางน้ า ในบางโอกาสยังสามารถใช้ในการบริการประชาชนอีกด้วย เช่น กรณีเรือประสบอุบัติเหตุ

                  ล่มจมในแม่น้ า ในกรณีโป๊ะน้ าท่าเรือล่ม ในกรณีค้นหาผู้ประสบภัยต่าง ๆ

                                5) สายตรวจจักรยาน (Bicycle Patrol) เป็นสายตรวจที่วิวัฒนาการมาจากสายตรวจเดินเท้า

                  มีข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่มีเสียงดัง ไม่ท าให้อาชญากรรู้ตัวหลบหนีไปก่อน สายตรวจจักรยานมีความเร็ว

                  กว่าสายตรวจเดินเท้า สามารถบรรทุกอุปกรณ์สนับสนุนการตรวจได้หลายอย่าง พื้นที่ที่เหมาะสมส าหรับ

                  สายตรวจประเภทนี้คือ หมู่บ้านจัดสรร สวนสาธารณะ แหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ สายตรวจจักรยานมีความคล่องตัว

                  ในการหยุดเมื่อเกิดความสงสัยและสามารถประชาสัมพันธ์กับประชาชนได้ดี การเคลื่อนย้ายสามารถท าได้

                  สะดวกเพราะมีน้ าหนักเบา

                                6) สายตรวจต าบล เป็นสายตรวจที่ใช้กับพื้นที่ชนบทที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง มีที่พัก

                  อาศัยอยู่ห่างกัน หรือรวมกันอยู่เป็นหย่อม ๆ แต่ละหย่อมอยู่ห่างกัน และอาจจัดให้มีที่พักสายตรวจด้วยก็ได้

                  สายตรวจต ารวจควรใช้รถยนต์ที่มีคุณลักษณะวิ่งบนทางที่มีน้ ามีโคลนได้ การจัดเจ้าหน้าที่ต ารวจและการใช้

                  ระยะเวลาการออกตรวจตามความเหมาะสม การพักแรมในหมู่บ้าน เช่น วัด หรือที่พักสายตรวจ

                                7) สายตรวจประเภทยามจุด คือ เจ้าหน้าที่ต ารวจสายตรวจที่ถูกจัดให้หยุดประจ าบริเวณ

                  หรือสถานที่เพื่อรักษาการณ์ตามบริเวณสถานที่ส าคัญ ๆ และสถานที่อาจเกิดอาชญากรรมได้ง่าย เช่น

                  ศูนย์การค้า ตลาด สถานที่ราชการ ธนาคาร ร้านค้าทอง ร้านค้าเพชรพลอย เป็นต้น

                                8) สายตรวจประเภทตู้ยาม จุดสกัด จุดพักสายตรวจต าบล โดยจัดตั้งตามจุดต่าง ๆ แล้วให้

                  เจ้าหน้าที่ต ารวจเฝ้าประจ า ให้เป็นเสมือนหนึ่งสถานีต ารวจย่อยบริการประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง โดยปกติจะ

                  จัดตั้งสายตรวจประเภทนี้ไว้ในบริเวณที่เป็นย่านชุมชนหนาแน่น เส้นทางคมนาคมส าคัญ ต าบล หมู่บ้าน

                  ที่ล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม

                                9) สายตรวจอื่น ๆ เช่น สายตรวจต ารวจม้า สายตรวจสุนัขต ารวจ สายตรวจทางอากาศ

                  เป็นสายตรวจที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ โดยอาจจัดเป็นครั้งคราวตามที่เห็นสมควร

                                ผู้บริหารงานสายตรวจ จะต้องใช้ความสามารถในการวิเคราะห์ และคัดเลือกจัดรูปแบบของ

                  สายตรวจประเภทต่าง ๆ ข้างต้น โดยสอดคล้องต้องกันกับข้อมูลต่าง ๆ ด้านการแบ่งเขตตรวจตามข้อ 4

                  เพื่อที่จะจัดสายตรวจในแต่ละเขตตรวจย่อยให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติอย่างเต็มที่
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43