Page 35 - คมองานบรหาร_Neat
P. 35

31

                                    1.2.2 ความหนาแน่นของประชากร บางพื้นที่มีอาณาบริเวณกว้างไกล แต่มีจ านวน

                  ประชากรเพียงเล็กน้อย ซึ่งสามารถพบได้ในเขตพื้นที่ชานเมือง บางพื้นที่มีอาณาบริเวณเพียงไม่ถึง 1 ตาราง
                  กิโลเมตร แต่กลับมีจ านวนประชากรพักอาศัย และประกอบกิจการจ านวนเป็นแสนคน เป็นต้น

                                    1.2.3 สภาพของชุมชน เช่น ในบางพื้นที่อาจเป็นย่านที่พักอาศัยจ านวนหมู่บ้านจัดสรร
                  เป็นจ านวนมาก จะมีประชาชนซึ่งเป็นชุมชนกลุ่มผู้พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เท่านั้น แต่ในบางพื้นที่อาจเป็น

                  ย่านธุรกิจการค้า ย่านสถานเริงรมย์ ก็จะมีจ านวนประชากรทั้งเป็นชุมชนกลุ่มผู้พักอาศัย ผู้ประกอบการงาน

                  ผู้ติดต่อการค้า ผู้เที่ยวเตร่ ฯลฯ เป็นจ านวนมาก ซึ่งลักษณะหลังนี้เป็นชุมชนที่มีความวุ่นวายซับซ้อนกว่าชุมชน
                  กลุ่มแรกอย่างเห็นได้ชัด เป็นต้น

                                    1.2.4 สภาพพื้นที่รับผิดชอบ เช่น ในบางพื้นที่อาจมีสภาพเป็นย่านธุรกิจการค้าเป็น
                  ส่วนใหญ่ แต่ในบางพื้นที่ยังมีสภาพเป็นส่วนเกษตรกรรม หรือพื้นที่ซึ่งก าลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น รวมถึง

                  จะต้องพิจารณาพื้นที่ทางดิ่ง เช่น อาคารสูง ๆ กรณีตึกหรือคอนโดมิเนียม ซึ่งมีชั้นที่พักหลายชั้น เป็นต้น ก็ต้อง

                  เพิ่มอัตราก าลังในการตรวจตราดูแล
                                    1.2.5 เส้นทางคมนาคม เช่น ในบางพื้นที่อาจมีเส้นทางคมนาคมสะดวก มีถนนทางสัญจร

                  ที่สามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่ในบางพื้นที่ยังไม่มีถนนหรือเส้นทางตัดผ่าน

                  โดยสะดวก บางครั้งอาจต้องใช้เส้นทางน้ า ล าคลอง เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคม เป็นต้น
                                    1.2.6 สถานภาพอาชญากรรม ในแต่ละพื้นที่ย่อมมีลักษณะของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น

                  แตกต่างกันไป เช่น ในพื้นที่ที่เป็นย่านธุรกิจการค้า ก็มักจะมีคดีประเภทลักทรัพย์ในศูนย์การค้า ชิงทรัพย์
                  วิ่งราวทรัพย์ โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะสูง แต่ในพื้นที่ที่เป็นย่านหมู่บ้านจัดสรร ก็มักจะมีคดีประเภท

                  ลักทรัพย์ในเคหสถาน จ าพวกตีนแมว ย่องเบา เกิดขึ้นเป็นประจ า เป็นต้น

                                1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างก าลังพลและการแบ่งเขตตรวจ ทุกสถานีต ารวจจะต้องตรวจสอบ

                  ก าลังพลเจ้าหน้าที่ต ารวจในปกครองว่าจะสามารถน าก าลังพลผู้ใดมาเป็นเจ้าหน้าที่ต ารวจสายตรวจ และ
                  ก าลังพลที่ได้รับการแต่งตั้งมาแล้วนั้นจะมีจ านวนเพียงพอหรือไม่ ในการที่จะจัดระบบการตรวจให้ครอบคลุม

                  พื้นที่ และสามารถปฏิบัติงานด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมในเขตรับผิดชอบของตนให้ได้ผล อย่างไร

                  ก็ตามในการพิจารณาประเด็นความสัมพันธ์กับก าลังพลนี้จะใช้ได้อย่างเหมาะสมในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือกรณีที่มี

                  ก าลังพลมากพอเท่านั้น จะใช้ข้อพิจารณาตามจ านวนก าลังพลนี้ไปเป็นงานประจ าไม่ได้ เพราะจะเป็นข้อจ ากัด

                  ในการพิจารณาเพิ่มอัตราก าลัง เพราะไม่อาจตอบค าถามเกี่ยวกับความเพียงพอของก าลังพลสายตรวจได้อย่าง
                  ชัดเจน และยิ่งกว่านั้นยังเป็นการไม่พิจารณาตามความเหมาะสมในประเด็นอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วใน 1 – 2

                  ซึ่งเป็นการมองข้ามสาระส าคัญของการแบ่งเขตตรวจ

                         รูปแบบในการจัดแบ่งเขตตรวจ

                                1. การใช้ก าลังพลเป็นหลักในการแบ่งเขตตรวจ หมายถึง การส ารวจจ านวนก าลังพล

                  สายตรวจที่มีอยู่ในแต่ละ สน. แล้วน ามาจัดสรรแบ่งเป็นชุด ๆ โดยแต่ละชุดจะปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละผลัดให้

                  ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ตัวอย่างการแบ่งเขตตรวจเฉพาะสายตรวจจักรยานยนต์ ก็จะเป็นดังนี้
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40