Page 31 - คมองานบรหาร_Neat
P. 31
27
4. การวางแผนการตรวจ
5. การออกปฏิบัติงานสายตรวจ
6. การควบคุมตรวจสอบสายตรวจ
7. การปฏิบัติภายหลังการตรวจ
8. การประเมินผล
จากขั้นตอนการด าเนินงานสายตรวจดังกล่าวมาแล้ว อาจแบ่งคร่าว ๆ ได้ 3 ส่วน คือ ขั้นตอนก่อนออกตรวจ
ขั้นตอนขณะออกตรวจ และขั้นตอนหลังการตรวจ ซึ่งเมื่อน าไปเทียบเคียงประยุกต์เข้ากับทฤษฎีระบบ เราจะได้
รูปแบบของการบริหารงานสายตรวจดังนี้
1. ในส่วนของ INPUT เป็นการด าเนินการในขั้นตอนก่อนการออกตรวจ ซึ่งผู้บริหารงานสายตรวจ
มีความจ าเป็นต้องค านึงถึงว่าในระบบของงานสายตรวจมีอะไรที่ต้องด าเนินการและเตรียมการก่อนที่จะมี
การออกตรวจ ดังนี้
1.1 การแบ่งเขตตรวจ จะแบ่งอย่างไร จ านวนเท่าใด
1.2 การจัดรูปแบบของสายตรวจอย่างไรจึงเหมาะสมกับเขตตรวจต่าง ๆ
1.3 การคัดเลือกคนที่จะมาท าหน้าที่สายตรวจมีมาตรฐานในการด าเนินการอย่างไร จ านวน
เท่าใด
1.4 การจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่จ าเป็นต่องานสายตรวจรวมทั้งอาวุธ เครื่องมือ
สื่อสารได้มากน้อย และมีประสิทธิภาพเพียงใด โดยเฉพาะในกรณีที่มีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสูง
1.5 งบประมาณ น้ ามันเชื้อเพลิง เงินตอบแทนสายตรวจมีหรือไม่ เพียงใด
1.6 ห้องปฏิบัติการสายตรวจพร้อมหรือไม่ จะจัดอย่างไร ประกอบด้วยอะไร
1.7 การหาข้อมูลเพื่อมาวางแผนการตรวจจะได้มาอย่างไร เมื่อได้มาแล้วมีวิธีการวิเคราะห์
เพื่อน ามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
1.8 การท าแผนการตรวจ จะท าอย่างไรให้สอดคล้องกับสถานภาพของอาชญากรรมและ
การวิเคราะห์ข้อมูล การก าหนดแผนในเชิงรุก เชิงรับ จะท าอย่างไร
2. ในส่วนของ PROCESS เป็นการด าเนินการในขั้นตอนขณะออกตรวจ ซึ่งมีความส าคัญมากเพราะ
เป็นการด าเนินการของต ารวจสายตรวจและผู้บริหาร ผู้ควบคุมสายตรวจ ดังนี้
2.1 การตรวจของสายตรวจตรวจอย่างไร สายตรวจมีหน้าที่และภารกิจอย่างไรในขณะตรวจ
การเผชิญเหตุต่าง ๆ ขณะตรวจท าอย่างไร
2.2 การควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของสายตรวจใครเป็นผู้ด าเนินการอย่างไร ระดับการ
ควบคุมตรวจสอบมีอย่างไร วิธีการตรวจสอบท าอย่างไร