Page 33 - คมองานบรหาร_Neat
P. 33

29

                  การเตรียมการก่อนออกตรวจ ( INPUT )

                         ในส่วนของการบริหารทรัพยากรของงานสายตรวจและแผนปฏิบัติงานสายตรวจนี้ถือว่าเป็นส่วนส าคัญ
                  อันดับแรกที่จะละเลยเสียไม่ได้ ทั้งนี้เพราะหากทั้งทรัพยากรบริหารที่น าใส่กระบวนการไม่ดี หรือแผนปฏิบัติ

                  ไม่ดี หรือทั้งสองส่วนไม่ดี ก็ย่อมไม่สามารถท าให้กระบวนการปฏิบัติด าเนินไปได้ดีและมีผลการปฏิบัติที่ดีได้

                         การเตรียมการก่อนออกตรวจ มีดังนี้

                  1. การแบ่งเขตตรวจ

                         การแบ่งเขตสายตรวจ เป็นไปตามแนวคิดที่ว่าแบ่งพื้นที่ให้มีขนาดเหมาะสมเพื่อให้สายตรวจ

                  รถจักรยานยนต์ 1 คัน สามารถเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ทั้งด้านการบริการ และป้องกันเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  โดยปัจจัยส าคัญที่น ามาพิจารณาการแบ่งเขตตรวจ ดังนี้
                                1.1 เป้าหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของต ารวจสายตรวจ เรียกว่าระดับการให้บริการ ซึ่งนับเป็น

                  เวลาในการเดินทางของต ารวจสายตรวจรถจักรยานยนต์ (เช่น โครงการสายตรวจ 3 นาที ถึงที่เกิดเหตุ)

                                ระดับการให้บริการ โดยวัดเป็นระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ต ารวจจะสามารถเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ

                  หรือจุดใดก็ตามที่จะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ ณ จุดที่ไกลสุดของเขตตรวจ เช่น ต้องการให้สายตรวจเดินทางไปถึง

                  ที่เกิดเหตุภายในเวลา 5 นาที ส าหรับย่านชุมชนหนาแน่น และในเวลา 10 นาที ส าหรับพื้นที่ห่างไกล หรือนอกชุมชน

                  ระดับการให้บริการเช่นนี้ จะส่งผลให้ขนาดของเขตตรวจต้องอยู่ในความเป็นไปได้ในการเดินทางเพื่อสนองตอบ

                  ความต้องการในระดับของการบริการด้วย และหากตัวเลขนั้นเปลี่ยนแปลง ขนาดและจ านวนเขตตรวจ

                  จะเปลี่ยนแปลงตาม รวมทั้งก าลังพล วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ ก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

                                ระดับการให้บริการนี้ เป็นเรื่องส าคัญที่ฝ่ายก าหนดนโยบายจะต้องตัดสินใจเพื่อเป็นแนวทาง


                  ในการให้บริการกับประชาชนในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อันเป็นภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
                  ต ารวจอยู่แล้ว แนวคิดในการให้บริการควรจะพิจารณาตามแนวทางดังนี้


                                -  ย่านธุรกิจ                ระดับการให้บริการ            3-5    นาที
                                -  ย่านพักอาศัย                     ”                     5-7      ”

                                -  ย่านเกษตรกรรม                    ”                     7-10    ”

                                -  ย่านอุตสาหกรรม                   ”                     10-15    ”

                                -  ย่านชุมชนไม่หนาแน่น เช่น ต่างจังหวัด พื้นที่ห่างไกล อาจจะก าหนดเวลาไว้ไม่เกินกว่า

                  20 นาที เช่นนี้ เป็นต้น
                                ในกรณีเช่นนี้ อาจมีปัญหาอยู่บ้างส าหรับความรวดเร็วในการให้บริการที่แตกต่างกันออกไปใน

                  แต่ละชุมชนก็ได้ อย่างไรก็ตามน่าจะมีค าอธิบายส าหรับกรณีเช่นนี้ได้ กล่าวคือ ระดับการบริการที่รวดเร็ว

                  เพียง 3 นาที ก็จริง แต่เป็นระดับที่มีผู้ใช้บริการจ านวนมาก อาจจะเป็นประชาชนมากกว่า 10,000 คน ส่วนใน

                  เวลา 20 นาทีนั้น อาจจะส าหรับประชาชนในพื้นที่ห่างไกลเพียง 200 คน เท่านั้น เป็นต้น
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38